พนักงานมาสายเป็นปัญหายอดฮิตที่ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานของบางองค์กร แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ภายในองค์กร ช่วยแก้หรือลดปัญหาดังกล่าวได้
พนักงานมาสายเพราะอะไรบ้าง
เมื่อพูดถึงสาเหตุของการสายนั้น มีมากมายเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น ตื่นสาย ฝนตก รถติด เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางไปทำงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ไว้ก่อนได้เลย
สำหรับการทำงานนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจกันได้ หากพนักงานที่สายมีการแจ้งล่วงหน้า แต่พนักงานบางคนอาจจะไม่เคยเคยบอกล่วงหน้าและชอบมาสายเป็นประจำ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำ แน่นอนว่าประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะลดลงตามไปด้วย องค์กรจึงต้องออกมาตรการมารองรับปัญหานี้ ด้วยแนวทางของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ซึ่งส่วนใหญ่คงจะคิดถึงเรื่อง การหักเงิน หากมีการมาสายเป็นประจำ แล้วในทางกฏหมาย เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหักเงินเดือนเพื่อการจัดการกับพนักงานที่ชอบมาสาย?
แล้วพนักงานมาสาย หักเงินได้ไหม?
เมื่อพนักงานคนใดคนหนึ่งมาสายเป็นประจำ ทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กรก็ต้องมีวิธีการรับมือแก้ไขปัญหาการมาสายของพนักงานคนนั้น ซึ่งวิธีการที่ง่ายและสามารถกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานให้กลับมาได้นั้นก็คือ “การหักเงิน” แต่ในทางกฏหมายล่ะ ว่าอย่างไร
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 76 แล้ว กล่าวง่าย ๆ คือ “องค์กรไม่สามารถลงโทษพนักงานที่มาทำงานสายโดยการหักเงินเดือนได้” จะทำได้เฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยที่พนักงานให้การตกลงยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น คือ
• หักเพื่อชำระภาษีเงินได้
• ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานฯ
• ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
• เป็นเงินประกันหรือเงินชดใช้ค่าเสียหาย
• เงินสะสมตามข้อตกลง
เมื่อทางกฏหมายระบุไว้แล้วว่า การมาสาย ไม่ใช่เหตุผลในการหักเงินเดือนได้ แล้วบริษัทต้องทำอย่างไร ถ้าพนักงานยังคงสายเหมือนเดิม หรือหนักสุดคือ ไม่มาทำงานเลย 1 วันโดยไม่บอกเหตุผลล่วงหน้า ซึ่งการกระทำแบบนี้ไม่ส่งผลดีกับทางบริษัทแน่นอน ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยให้พนักงานไม่มาทํางานสายจากการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กร มีดังนี้
แนวทางที่จะช่วยให้พนักงานไม่มาทํางานสาย
1. กำหนดกฎระเบียบเป็นมาตรฐานในองค์กรให้ชัดเจน
ทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กร สามารถสร้างข้อตกลงหรือกฏระเบียบ ขึ้นมาให้ชัดเจน โดยอาจจะทำเป็นขั้นตอน เช่น
• ขั้นแรก มีการตักเตือน อาจจะเป็นการตักเตือนด้วยวาจา
• ขั้นที่สอง มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการระบุเรื่องการตัดเงินรางวัล โบนัส การพักงานหรือโทษอื่น ๆ
• ขั้นที่สาม มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการ ตัดเงินรางวัล โทษอื่น ๆ
• ขั้นที่สี่ มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร งดการขึ้นเงินเดือนประจำปีและโบนัสประจำปี
• ขั้นที่ห้า ให้พ้นสภาพพนักงาน
ซึ่งในการสร้างกฎระเบียบนั้น ควรเป็นกฎที่มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรด้วย เพื่อให้เกิดผลดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน
2. จัดอีเวนท์กระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน
วัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนไทย จะมีความเกรงใจเป็นคุณสมบัติ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กร สามารถจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานได้มีการกระชับความสัมพันธ์ นอกจากจะทำให้ การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยังทำให้พนักงานมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน หากมีการมาสายสมาชิกในทีมก็จะมีการตักเตือนกัน และมีความเกรงใจคนในทีม
3. สร้างหัวหน้าให้เป็นตัวอย่างที่ดี
หากองค์กรมีหัวหน้าทีมที่มาสาย พนักงานก็จะคิดว่ามาสายได้เพราะหัวหน้าก็มาสาย ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กร ต้องสร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่พนักงานโดยเริ่มจากหัวหน้าของทีมรวมไปถึงผู้บริหารก็ควรมาทํางานเช้าหรือตรงเวลาเพื่อเป็นตัวอย่างเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบ และเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกคน
4. สร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กรนั้น ควรสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานมาทำงานให้ทันเวลา ซึ่งวิธีการสร้างแรงจูงใจนั้นมีหลายวิธี ดังเช่น
• ถ้าพนักงานคนนั้นมาสายบ่อยแต่ก็มีเหตุผลสมควรพอ ทางบริษัทหรือ HR อาจจะให้ข้อเสนอยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงานแก่พนักงาน โดยแต่เดิมบริษัทอาจจะเข้างาน 8:30 น. เลิก 17:00 น. แต่สำหรับพนักงานคนนั้นอาจให้เข้างาน 9:00 น. เลิก 18:00 น. เป็นต้น
• อาจมีการให้พนักงานที่มาทำงานสาย ทำชดเชยเวลา เช่น มาสายไปสามสิบนาที ก็ให้ทำงานชดเชยเวลาไปอีกสามสิบนาที
• มีการกำหนดรางวัลให้กับพนักงานที่ไม่เคยมาทำงานสายและเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงานที่ชอบมาสาย ให้พวกเขาอยากมาให้ทันเวลาเข้างานมากขึ้น เช่น เพิ่มเบี้ยขยัน ถ้าในเดือนนั้น ๆ ไม่เคยมาทำงานสายเลย เป็นต้น
เมื่อพนักงานมีแรงจูงใจแล้ว จะทำให้รู้สึกสนุกสนาน ทำให้อยากมาทำงานให้ทันเวลาและทำผลงานที่ดีไห้กับองค์กรอีกด้วย
สรุป HRM มีผลกับพนักงานมาสายอย่างไร
แนวทางการแก้ปัญหาพนักงานมาสายนั้น นอกจากจะแก้ที่ตัวพนักงานเองแล้ว การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ขององค์กร ยังสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานขององค์กรให้ทำงานได้อย่างมีความสุข ให้กำลังใจหรือคำแนะนำในเวลาที่พนักงานมีปัญหาที่อาจจะกระทบต่อการมาทำงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจและทำงานไดด้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดตาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Blog : www.humansoft.co.th/th/blog
Facebook : www.facebook.com/humansoft.co.th
Line : @humansoft
Tel : +66 88 864 7474