PageView Facebook
date_range 11/08/2023 visibility 77619 views
bookmark HR Knowledge
รู้จักกับ ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 และขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ - blog image preview
Blog >รู้จักกับ ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 และขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

การยื่นภาษีได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบออนไลน์ ทำให้ผู้มีเงินได้ยื่นภาษีสะดวกขึ้น วันนี้ HumanSoft จะพามาดูขั้นตอนการยื่น ภ.ง.ด. 90/91 แบบออนไลน์ มาอ่านกันเลย!


ทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 คืออะไร

ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่น รายได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ รายได้จากกิจการของตัวเอง โดย ภ.ง.ด. 90 จะเป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง 40(8) หลายประเภทหรือประเภทเดียว


ภ.ง.ด. 91 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน โดย ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบแสดงรายการเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่มีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียว ที่ได้จากการจ้างงาน


ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.91 และจะต้องทำการยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีถัดไป บทความนี้เราจะพามารู้จักกับขั้นตอนการยื่นภาษีแบบออนไลน์และ สรุปสั้น ๆ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ใครมีหน้าที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91

ทั้ง ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 นั้นต่างเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่สถานะของผู้มีรายได้


ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90

ผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ได้แก่ ผู้มีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากรหลายประเภทหรือประเภทเดียว

  • ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • ผู้ที่เป็นคู่สมรส ที่มีเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
  • กองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือมีเงินได้เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศ

ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้แก่ ผู้มีเงินได้จากการจ้างงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว ตามเกณฑ์ดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 120,000 บาท
  • ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

ปัจจุบันการยื่นภาษีในรูปแบบออนไลน์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มีเงินได้ ที่สามารถยื่นภาษีได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปถึงสำนักงานสรรพากร ซึ่งการยื่นภาษีรูปแบบออนไลน์ มีขั้นตอนดังนี้


1. เข้าไปที่เว็บไซต์ E-FILING ของกรมสรรพากร efiling.rd.go.th และคลิกที่ “ยื่นแบบออนไลน์”



2. ทำการ “เข้าสู่ระบบ” โดยสามารถเลือกวิธีการเข้าสู่ระบบได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ เข้าสู่ระบบด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือชื่อผู้ใช้งาน และเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID กรณีที่ไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อนให้คลิก “สมัครสมาชิก”



3. ต่อมาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้เลือกทำรายการในส่วนของ ภ.ง.ด.90/91 และคลิก “ยื่นแบบ”



4. “กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี” ทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่ระบบดึงมาแสดงผล หากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล คลิก “แก้ไข” และกรอกข้อมูลได้เลย



5. กรอกข้อมูลเงินได้ของตนเอง โดยคลิกเลือก “ระบุข้อมูล” จากนั้นทำการระบุข้อมูลเงินได้ที่ต้องการ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กดถัดไป



6. กรอก “ค่าลดหย่อนภาษี” โดยกรมสรรพากรจำแนกกลุ่มค่าลดหย่อนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ

กลุ่มที่ 4 เงินบริจาค



7. ตรวจสอบ “ผลการคำนวณภาษี” ของท่านว่าถูกต้องหรือไม่ โดยระบบทำการคำนวณภาษีและผู้เสียภาษีเลือกการชำระ/ขอแบ่งชำระ หรือขอเงินภาษีคืน



8. “สรุปรายการภาษี” ซึ่งจะแสดงรายละเอียดการยื่นแบบภาษีชำระไว้เกิน หรือ ภาษีที่ชำระเพิ่มเติม และกำหนดการชำระเงิน (กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่ม)



9. ต่อมาให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งและทำการคลิก “ยืนยันการยื่นแบบ”

9.1 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90



9.2 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91



10. ยื่นแบบสำเร็จ



ยื่น ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด.91 ได้ที่ไหน และช่วงไหนบ้าง

ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 สามารถยื่นได้ดังนี้

  • สำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
  • ส่งเอกสารทางไปรษณีย์
  • ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตนเอง 

ผู้มีเงินได้จะต้องทำการยื่นภาษีแบบกระดาษได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม และสามารถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-filing เพื่อเสียภาษี ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 เมษายน


สรุปบทความเกี่ยวกับ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 91

ทั้ง ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ล้วนเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้มีเงินได้ทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่นภาษี แม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ควรที่จะต้องจะยื่นภาษีนะคะ เพื่อป้องกันการตรวจสอบย้อนหลัง

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้