การยื่นภาษี
การยื่นภาษี เป็นข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากร ว่าด้วยประชาชนคนไทยจำเป็นต้องมีการยื่นภาษีแสดงรายได้ของบุคคลนั้นๆ หากอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้วนั้น ภาษีเหล่านั้นจะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยเป็นการแสดงรายได้ของตนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยจะยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคมของทุกปี (หากยื่นออนไลน์ของกรมสรรพากร จะขยายเวลายื่นได้ถึง 8 เมษายนของทุกปี)
โดยสามารถตั้งค่าประเภทการคิดภาษีของพนักงานได้ที่หน้า ข้อมูลพนักงาน และ ระบบมีรายงานที่รองรับการยื่นภาษี 3 รูป คือ
- ภาษีประจำเดือน (ภงด.1)
- ภาษีประจำปี (ภงด.1ก)
- ภาษี ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
อีกทั้งระบบยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Text เพื่อทำการแปลงไฟล์ในโปรแกรม RD Prep เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ของสรรพากร
ภาษีแต่ละประเภท
1.รายงานภาษีประจำเดือน (ภงด.1) คือ แบบภาษีสำหรับแจ้งข้อมูลการจ่ายเงินได้ของ พนักงานประจำ หรือการจ้างงาน เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชั่น ค่าตำแหน่ง ค่าจ้างงาน เป็นต้น สำหรับช่วงเวลาทั้งเดือน โดยผู้จ่ายเงิน (นายจ้าง) ต้องเป็นคนยื่น โดยสามารถยื่นได้ ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
2. รายงานภาษีประจำปี (ภงด.1ก) คือ ใบสรุปการยื่นภาษีเงินได้สำหรับการจ้างงานสำหรับช่วงเวลาทั้งปี ที่จะแสดงเงินได้ของลูกจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชั่นต่างๆ ค่าจ้างงาน เป็นต้น และในแบบนี้จะแสดงจำนวนภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ตลอดทั้งปีด้วย โดยสามารถยื่นทางสรรพากรได้ ปีละหนึ่งครั้ง ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
3. รายงาน ณ ที่จ่าย (ภงด.3) คือ แบบยื่นเพื่อแจ้ง การหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท
โดยสามารถยื่นได้ ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดภาษี
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดภาษี สามารถกำหนดได้ 2 วิธี
- ตั้งค่าข้อมูลภาษีรายบุคคล
- ตั้งค่าข้อมูลภาษีทั้งองค์กร
โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าภาษีของพนักงานได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. ตั้งค่าข้อมูลภาษีรายบุคคล
กำหนดที่ข้อมูลพนักงานเป็นการตั้งค่ารายบุคคล สามารถทำได้ทีละ 1 ท่าน
- ไปที่รายการข้อมูลองค์ก เลือกหัวข้อ “ข้อมูลพนักงาน ”
- เลือกพนักงานที่ต้องการตั้งค่าภาษี
- เลือกประเภทภาษีที่ต้องการตั้งค่าให้กับพนักงาน
- กดบันทึก
2. ตั้งค่าข้อมูลภาษีทั้งองค์กร
กำหนดที่เมนูย่อย จะสามารถกำหนดการตั้งค่าให้กับพนักงานหลายท่านได้ โดยสามารถตั้งค่าดังนี้
- เข้าไปที่เมนูข้อมูลองค์กร เลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน
- ไปที่เมนูย่อย “ข้อมูลเงินเดือน”
- เลือกประเภทการคิดภาษีที่ต้องการให้กับพนักงาน
- กด บันทึก
หมายเหตุ : ไม่คิดภาษี คือ ตั้งค่าพนักงานไม่มีการคิดภาษี
คิดภาษีใหม่ทุกเดือน คือ การคิดเงินภาษีแบบอัตราก้าวหน้า (ภาษีขั้นบันได)
คิดภาษีคงที่ทุกเดือน คือ การกำหนดยอดภาษีที่ต้องเสีย โดยจะไม่เปลี่ยนตามการขึ้นลงของฐานรายได้ที่เกิดขึ้น
คิดภาษีเป็น % ของรายได้ คือ การกำหนด % ภาษีที่ต้องเสีย โดยคิดจากผลรวมของรายได้
คิดภาษี ภงด.1 ใหม่ทุกเดือน เป็นรายได้ 40(2) คือ การคิดภาษีโดยการประมาณการยอดอนาคตให้คิดในรอบปัจจุบัน
คิดภาษี ภงด.3 รวมเงินเดือน คือ การคิดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ที่มีการนำเงินเดือนและรายรับรายจ่ายมาคำนวณภาษี
คิดภาษี ภงด.3 ไม่รวมเงินเดือน คือ การคิดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ที่เป็นการนำเฉพาะรายรับรายจ่ายมาคำนวณภาษี