โปรแกรมคิดเงินเดือนและบริหารงาน HR

date_range 29/08/2023 visibility 5109 views
bookmark HR Knowledge
พนักงานมาสาย นายจ้างหักเงินได้ไหม? ควรจัดการอย่างไรดี? - blog image preview
Blog >พนักงานมาสาย นายจ้างหักเงินได้ไหม? ควรจัดการอย่างไรดี?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาพนักงานมาสาย เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ บริษัทต้องพบเจอ ในฐานะนายจ้างหรือฝ่าย HR สามารถจัดการอย่างไรได้บ้าง มาหาคำตอบกันในบทความนี้เลย


ว่าด้วยเรื่องพนักงานมาสาย

การจัดการกับพนักงานมาสายเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) ต้องเผชิญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งการจัดการแก้ไขปัญหาพนักงานมาสายของ HR หรือรวมไปถึงนายจ้างนั้นอาจจะต้องมีการวางแผนนโยบายหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน เพื่อลดปัญหาพนักงานมาสายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


พนักงานมาสาย บริษัทหักเงินพนักงานได้ไหม?



ประเด็นเรื่องพนักงานมาสายนั้นหลาย ๆ นายจ้างหรือบริษัทล้วนมีวิธีการแก้ไขปัญหาพนักงานมาสายที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของบริษัท ซึ่งหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมและสามารถกระตุ้นความกระตือรือร้นในการมาทำงานของพนักงานได้นั่นก็คือการใช้วิธีการ “หักเงินพนักงาน”

วิธีการแก้ไขปัญหาพนักงานมาสายข้างต้น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยในประเด็นถัดมาว่า “ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว หากพนักงานมาสาย บริษัทจะสามารถหักเงินพนักงานได้หรือไม่” ตอบได้เลยว่าหากยึดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้วนั้น “นายจ้างไม่สามารถหักค่าจ้างพนักงานได้” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 76 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

  • ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
  • ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
  • ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
  • เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
  • เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

สาเหตุของการมาสายของพนักงาน

สาเหตุการมาสายของพนักงานอาจเกิดขึ้นได้หลายประการ ตามสถานการณ์และสภาวะต่าง ๆ ที่พนักงานได้ประสบพบเจอ โดยสาเหตุที่พนักงานมาสายนั้นอาจเกิดได้จากสาเหตุดังนี้



ปัญหาด้านการจราจรหรือการเดินทาง

การจราจรติดขัด เป็นปัญหาหลัก ๆ ที่ส่งผลให้พนักงานเดินทางมาทำงานสาย เนื่องจากในทุกเช้า มนุษย์เงินเดือนแต่ละคนล้วนมุ่งหน้ามาทำงาน จึงส่งผลให้การจราจรติดขัดหากมีการ หรือกรณีที่ไม่มียานพาหนะในการเดินทาง หากวางแผนเรื่องการเดินทางไม่ดีก็อาจทำให้พนักงานมาสายได้

 

ปัญหาส่วนตัวและครอบครัว

ในส่วนของปัญหาส่วนตัวและปัญหาครอบครัวของพนักงานนั้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้พนักงานมาสายได้ เช่น ปัญหาสุขภาพ เหตุฉุกเฉิน

 

สภาพอากาศ

ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจ เช่น ฝนตก อาจส่งผลให้พนักงานมาสายได้ เนื่องจากทัศนวิสัยในการมองเห็นบวกกับถนนลื่น ทำให้ต้องขับรถกันอย่างระมัดระวังมากขึ้น อีกทั้งในวันที่ฝนตกผู้คนส่วนใหญ่มักเลือกเดินทางโดยรถยนต์ ทำให้การจราจรหนาแน่นกว่าวันปกติ หากจัดการเวลาหรือวางแผนเรื่องการเดินทางไม่ดีก็อาจทำให้มาสายได้

 

อื่น ๆ

สาเหตุที่ทำให้พนักงานมาสายได้ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวไม่พร้อมในการมาทำงาน ตื่นสาย ระยะทางในการเดินทาง และสาเหตุอื่น ๆ ที่เราไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ จึงส่งผลให้พนักงานมาสาย


พนักงานมาสายส่งผลเสียอย่างไรต่อบริษัท

  พนักงานมาสายส่งผลเสียต่อบริษัทในหลาย ๆ ด้าน นั้นจึงเป็นสาเหตุที่นายจ้างและ HR ส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องพนักงานมาสาย โดยผลกระทบที่เกิดจากพนักงานมาสายมีดังนี้

 

ผลกระทบต่อผลงาน

กรณีที่พนักงานมาสายอาจส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ตามแผน ส่งผลให้ผลงานไม่สมบูรณ์ และไม่ได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

 

ภาพลักษณ์ของบริษัท

พนักงานมาสายอาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ของบริษัทเสียหาย ลูกค้าหรือคู่ค้าอาจมีความเข้าใจว่าบริษัทไม่มีความเอาใจในการทำธุรกิจได้

 

บรรยากาศในทีม

การมาสายอาจส่งผลให้คนอื่นในทีมรู้สึกไม่พอใจ เนื่องจากพนักงานที่มาตรงต่อเวลารู้สึกโดนเอาเปรียบ อาจเกิดการขัดแย้งและบรรยากาศไม่ดีในทีม


แนวทางจัดการปัญหาพนักงานมาสาย

ปัญหาพนักงานมาสายไม่ควรปล่อยปัญหาไว้นาน ควรเร่งจัดการแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อการทำงานภายในบริษัท



กำหนดกฎระเบียบเป็นมาตรฐานในบริษัทให้ชัดเจน

การกำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวกับเรื่องการมาสายให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานทราบถึงมาตรฐานและความสำคัญของการมาสาย โดยอาจมีข้อตกลงที่ชัดเจนเช่น มีการตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร หรือหากพนักงานมาสายเป็นประจำสม่ำเสมอ อาจให้พ้นสภาพพนักงาน เป็นต้น

 

พูดคุยถึงปัญหาการมาสาย

สอบถามพูดคุยถึงปัญหาพนักงานมาสาย และหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้จัดการแก้ไขปัญหาพนักงานมาสายได้อย่างตรงจุด

 

สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

ควรสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการทำงาน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานอยากมาทำงานให้ตรงเวลา เช่น เพิ่มเบี้ยขยัน ในเดือนที่พนักงานไม่เคยมาทำงานสาย เป็นต้น

 

หาโปรแกรม HR เข้ามาช่วยบันทึกเวลาเข้า-ออกงาน

เพิ่มประสิทธิภาพในการลงเวลาการทำงานด้วยการหาโปรแกรม HR ที่มีรองรับการลงเวลาการทำงานในรูปแบบระบบลงเวลาการทำงานออนไลน์ผ่านแอพลงเวลาการทำงาน ซึ่งมีฟังก์ชันการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาการทำงาน ทำให้ป้องกันพนักงานลงเวลาแทนกัน สร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มประสิทธิภาพในการลงเวลาในการทำงานมากขึ้น

 

Tips! อ่านบทความต่อเพิ่มเติมได้ที่: วิธีจัดการพนักงานมาสาย ด้วย HRM


สรุปพนักงานมาสายสามารถจัดการอย่างไร?

การจัดการพนักงานที่มาสายเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความยืดหยุ่นและความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่การอัดแน่นแน่นในระเบียบ การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความรับผิดชอบและความตั้งใจของพนักงานในการทำงานสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการมาสายและสร้างผลการทำงานที่ดีขึ้นได้



ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้