PageView Facebook
date_range 26/05/2023 visibility 136542 views
bookmark HR Knowledge
โครงสร้างองค์กรคืออะไร? มีกี่แบบ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง - blog image preview
Blog >โครงสร้างองค์กรคืออะไร? มีกี่แบบ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

สำหรับใครที่เปิดบริษัทจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโครงสร้างองค์กร โดยการจัดวางโครงสร้างก็มีหลายแบบ ประกอบด้วยอะไรบ้างมาดูกัน


โครงสร้างองค์กรประกอบด้วยตำแหน่งไหนบ้าง


ไม่ว่าคุณจะทำงานเอกชน งานราชการ หรือแม้แต่งานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 3 อย่างนี้มักจะมี โครงสร้างองค์กร เพื่อให้รู้ว่าแต่ละองค์กรนั้นมีตำแหน่งไหนบ้าง สามารถแยกปลีกย่อยในแต่ละสายงานได้อย่างไร บทความของทาง HumanSoft จะมาอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรว่าคืออะไร และมีความสำคัญแค่ไหน และสามารถแบ่งได้กี่แบบ ตามไปหาคำตอบพร้อมๆ กันได้เลย


โครงสร้างองค์กรคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร


โครงสร้างองค์กร คือ การวางแผนผังหน้าที่การงานว่าในองค์กรหนึ่งจะมีพนักงานหรือตำแหน่งอะไรบ้าง ซึ่งการวางโครงสร้างขององค์กรก็ถือว่ามีความหลากหลายมากว่าจะเป็นแบบไหน ซึ่งของการเกิดโครงสร้างองค์กรแต่ละแบบจะเกี่ยวเนื่องกับการทำงานเป็นทีม วัฒนธรรมขององค์กร จำนวนพนักงาน และบริษัททำกิจการเกี่ยวกับอะไร ในจุดนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งถ้าเราเลือกโครงสร้างที่ถูกต้อง เพราะจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน และทำให้ธุรกิจก้าวหน้าได้


โครงสร้างองค์กรมีทั้งหมดกี่แบบ และแต่ละแบบมีอะไรบ้าง


1.โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)


โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น จะเป็นโครงสร้างองค์กรที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด โดยด้านบนไล่จากตำแหน่งใหญ่ตั้งแต่ CEO ไล่จากบนลงล่างมาเรื่อยๆ ซึ่งการจัดตำแหน่งแบบนี้จะทำให้รู้ว่าใครทำหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน และควรจะต้องติดต่อแผนกไหน เพิ่มแรงดึงดูดให้กับพนักงานที่หวังอยากเลื่อนขั้น และมีความเชี่ยวชาญตามตำแหน่งที่ทำอยู่


2.โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ (Functional Structure)


โครงสร้างองค์กรแบ่งตามหน้าที่ ก็จะเป็นโครงสร้างองค์กรที่แบ่งตามลำดับขั้นจากใหญ่ลงมาเล็ก โดยจะมีการกำหนดหน้าที่ตามชื่อตำแหน่งในแต่ละส่วนอย่างชัดเจน เพื่อที่ว่าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเองที่ต้องทำ เพิ่มพูดทักษะของตัวเอง และมีอิสรภาพในการทำงานอย่างเต็มที่


3.โครงสร้างองค์กรแนวนอนหรือแบน (Horizontal / Flat Structure)


โครงสร้างองค์กรแบบแนวนอนหรือแบน จะถือว่าเป็นโครงสร้างที่เรียบง่ายมากที่สุด โดยจะมีตำแหน่งใหญ่สุดอยู่ด้านบน และที่เหลือที่อยู่ด้านล่างก็มีการระบุตำแหน่งของตัวเอง โดยแต่ละตำแหน่งมีความเท่าเทียมกัน จึงทำให้คนในทีมมีความรับผิดชอบกันมากขึ้น และยังสามารถที่จะติดต่อกับฝ่ายอื่นๆ เพื่อขยายความรู้เพิ่มเติมได้



4.โครงสร้างองค์กรตามหน่วยงาน (Divisi ที่แต่ละทีมได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจกำหนดทีม A ทีม B ทีม C โดยรันโปรเจคสินค้าหรือบริการที่แตonal Structure)


โครงสร้างองค์กรตามหน่วยงาน หรือก็คือการจัดโครงสร้างตามโปรเจ็คกต่างกัน และแต่ละทีมก็จะมีตำแหน่งหัวหน้า และพนักงานย่อยลงมาอีก ในจุดนี้จะเป็นอิสระในการทำงานอย่างมาก และสามารถตีโจทย์ลูกค้าแตก


5.โครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure)


โครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์ นับว่าเป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อน เบื้องต้นจะไล่ตามลำดับขั้นจากตำแหน่งใหญ่มาตามตำแหน่งน้อย โดยมีการแยกแผนกที่ชัดเจน แต่ในส่วนของการทำงานโปรเจค จำเป็นต้องใช้คนหลายๆ แผนกเพื่อมาพัฒนาโปรเจคนั้นรวมกัน ซึ่งจุดนี้สามารถขยายความรู้แผนกอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี


6.โครงสร้างองค์กรแบบทีมงาน (Team-based Structure)


โครงสร้างองค์กรแบบทีมงาน จะเป็นโครงสร้างที่มีตำแหน่งใหญ่สุดคือ CEO และจากนั้นก็แยกย่อยเป็นแต่ละทีม โดยแต่ละทีมจะเป็น A B C แต่ภายในทีมจะไม่ได้มีการจัดว่าใครตำแหน่งใหญ่กว่าหรือเล็กกว่า ทุกคนมีสถานะเท่ากัน ทุกคนได้รับความเท่าเทียมในการทำงาน และสามารถแชร์ไอเดียหรือทำงานกันได้เต็มที่


7.โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย (Network Structure)


โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย จะเหมาะกับธุรกิจที่ใหญ่มากๆ โดยจะมีสำนักงานใหญ่ที่ถือว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุด ก่อนจะกระจายสาขาไปยังองค์ย่อยๆ อีกมากมาย โดยองค์กรย่อยๆ ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง อาจจะมีบางอย่างที่ทำไม่ได้ก็สามารถประสานกับสำนักงานใหญ่ได้


สรุปโครงสร้างองค์กร


โครงสร้างองค์กร ที่ได้มีการอธิบายนั้นเป็นเพียงประเภทที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้ และอาจมีปรับแต่งเพิ่มเติม เพราะแต่ละองค์กรต่างมีขนาดที่ไม่เท่ากัน บางบริษัทอาจมีพนักงาน 10 - 20 คน บางบริษัทอาจมีพนักงานมากกว่า 100 คน จึงไม่แปลกที่โครงสร้างองค์กรมีหลายแบบและจะต้องเลือกอย่างเหมาะสม สุดท้ายนี้ถ้าคุณกำลังมองหา ระบบงาน HR ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้งาน HR คล่องตัวมากขึ้น และสามารถจัดการงานได้ชัดเจนสามารถติดต่อสอบถามผ่านทาง HumanSoft กันได้เลย


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้