PageView Facebook

การคำนวณงวดพิเศษ

การคำนวณงวดพิเศษ คือ การจ่ายเงินพิเศษให้กับพนักงาน ที่ไม่ได้จ่ายพร้อมรอบเงินเดือนงวดปกติ เช่น ค่าโบนัส, ค่าคอมมิชชั่น หรือ เงินได้อื่นๆ เป็นต้น เช่น จ่ายเงินเดือนทุกๆสิ้นเดือน แต่ค่าคอมมิชชั่น ต้องทำจ่ายทุกวันที่ 7 กรณีนี้สามารถใช้งานเมนูคำนวณงวดพิเศษได้

โดยต้องมีการตั้งค่าข้อมูลพนักงานว่าเป็นงวดพิเศษ และ ตั้งค่ารายรับรายจ่าย ให้ไปคำนวณในงวดพิเศษ

การตั้งค่าข้อมูลพนักงานว่าเป็นงวดพิเศษ สามารถตั้งค่าได้ 2 วิธี คือ

1.การตั้งค่าที่ข้อมูลพนักงาน

2.การตั้งค่าที่เมนูย่อย

ซึ่งหากต้องการให้ระบบนำยอดเงินในงวดพิเศษ ไปคำนวณและประมาณการการคำนวณภาษีให้กับพนักงานด้วย ซึ่งต้องมีการตั้งค่าประเภทรายรับ-รายจ่าย ให้มีการคำนวณกับ ภาษี ด้วย

หากต้องการให้เป็น หัก ณ ที่จ่าย ต้องทำการตั้งค่าประเภทรายรับ-รายจ่าย ให้มีการคำนวณกับ หัก ณ ที่จ่าย งวดพิเศษ

การตั้งค่าข้อมูลพนักงานเป็นแบ่งงวดพิเศษที่ข้อมูลพนักงาน

สามารถตั้งค่าข้อมูลพนักงานว่าเป็นงวดพิเศษ โดยสามารถเข้าไปที่ เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน


เมื่อเลือกพนักงานขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว เลือกที่หัวข้อตั้งค่า จากนั้นเลือกรายการ ตั้งค่าทั่วไป มาที่ตั้งค่า รอบการคำนวณงวดพิเศษ เป็น ใช่ และ กด บันทึก



การตั้งค่าข้อมูลพนักงานเป็นแบ่งงวดพิเศษ เมนูย่อย

สามารถตั้งค่าข้อมูลพนักงานว่าเป็นงวดพิเศษ โดยสามารถเข้าไปที่ เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน และ เลือกที่หัวข้อ ตั้งค่าทั่วไป

โดยสามารถเลือกตั้งค่าให้พนักงานทั้งหมดเป็นงวดพิเศษที่ปุ่ม ในขั้นตอนที่ หรือ หากต้องการเลือกเป็นพนักงานรายบุคคลสามารถเลือก ใช่ / ไม่ใช่ ที่ช่องรายชื่อพนักงานได้เลย


การตั้งค่ารับรายจ่าย ให้นำไปคำนวณในงวดพิเศษ

สามารถเข้ามาที่เมนู ตั้งค่า จากนั้นเลือกที่ ตั้งค่าการคำนวณ และ เลือก ตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่าย และเลือก รายรับรายจ่ายที่ต้องการให้คำนวณในงวดพิเศษ


จากนั้นเลือก งวดพิเศษ เพื่อให้รายการรายรับรายจ่ายนั้นๆ แสดงในเมนู คำนวณงวดพิเศษ จากนั้นกด บันทึก


หากต้องการให้รายรับรายจ่ายในงวดพิเศษ หัก ณ ที่จ่ายได้ ต้องเลือกนำไปคำนวณกับ หัก ณ ที่จ่าย งวดพิเศษ ด้วย


หากต้องการให้ระบบนำยอดรายรับรายจ่ายในงวดพิเศษ ไปประมาณการภาษีในงวดปกติให้ ต้องเลือก นำไปคำนวณกับ ภาษี ด้วย

การสร้างรอบคำนวณงวดพิเศษ

สามารถสร้างรอบการคำนวณงวดพิเศษได้โดยไปที่เมนู การประมวลผลเงินเดือน จากนั้นเลือก การคำนวณเงินเดือน และ คำนวณงวดพิเศษ จากนั้นเลือกรอบเดือนที่ต้องการทำงวดพิเศษ และ กดที่ เพิ่มงวดพิเศษ


จากนั้นตั้งชื่องวดพิเศษตามที่ต้องการ และกดบันทึก


เมื่อตั้งชื่องวดพิเศษเรียบร้อยแล้ว กดที่ เพื่อกรอกยอดเงินในงวดพิเศษให้กับพนักงาน


เมื่อกดแก้ไขเข้ามาแล้ว สามารถกรอกยอดเงินที่จะทำการจ่ายในงวดพิเศษได้เลย รวมถึงสามารถสามารถระบุ % การหัก ณ ที่จ่ายได้ในข้อ

หมายเหตุ : กรณีต้องการระบุ % การหัก ณ ที่จ่าย ฃที่รายการรายรับรายจ่าย ต้องมีการตั้งค่า นำไปคำนวณกับ งวดพิเศษ และ หัก ณ ที่จ่ายงวดพิเศษ


เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงรายชื่อพนักงานที่มีการจ่ายงวดพิเศษ จากนั้นทำการระบุวันที่จ่าย และ กด Finish


เมื่อกด Finish เรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลด Text File ที่ใช้สำหรับการนำจ่ายเงินให้กับพนักงานผ่านระบบ Payroll ได้เลย

หมายเหตุ : หากต้องการแก้ไขรายชื่อในงวดพิเศษ ต้องทำการกด Unfinish ก่อน จึงจะสามารถแก้ไขรายชื่อได้


ตัวอย่างสลิปงวดพิเศษ


ตัวอย่างสลิปงวดพิเศษ กรณีมีการหัก ณ ที่จ่าย

กรณีตั้งค่านำไปคำนวณกับ ภาษี และ งวดพิเศษ


ระบจะนำยอดเงินในงวดพิเศษมาคำนวณ และประมาณภาษีให้ด้วยที่งวดปกติ โดยสามารถตรวจสอบได้ที่หน้า คำนวณเงินเดือนรายบุคคล หัวข้อ ภาษี

โดยเข้าไปที่เมนูการประมวลผลเงินเดือน เลือก การคำนวณเงินเดือน และ คำนวณเงินเดือน จากนั้นไปที่ คำนวณเงินเดือนรายบุคคล และเลือกหัวข้อ ภาษี


สรุปได้ว่า การคำนวณงวดพิเศษเป็นการทำจ่ายเงินให้กับพนักงาน กรณีที่มีการจ่ายเงินไม่พร้อมกับเงินเดือน โดยสามารถตรวจสอบการคำนวณงวดพิเศษ ได้ที่รายงานผลการคำนวณเงินเดือนสุทธิงวดพิเศษ ซึ่งจะแสดงรายชื่อพนักงานที่มีการเคยจ่ายงวดพิเศษ และ ยอดเงินที่จ่ายให้กับพนักงาน

หากต้องให้ระบบนำยอดเงินในงวดพิเศษมาคำนวณและประมาณการภาษี ต้องมีการเลือกนำไปคำนวณกับภาษี แต่หากต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย ในงวดพิเศษ จะต้องเลือกนำไปคำนวณกับ หัก ณ ที่จ่าย งวดพิเศษ