การนำเข้าจัดการหนี้สินพนักงาน และเงินประกันการทำงาน
การนำเข้าภาระหนี้สินพนักงานเพื่อให้ระบบหักยอดที่คงค้าง หรือเริ่มหักใหม่ โดยระบบจะหักให้อัตโนมัติตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้จนกว่าจะหักครบตามจำนวนงวดถึงจะหยุดหัก
การนำเข้าเงินประกันการทำงาน (สำหรับยอดที่จ่ายครบถ้วนแล้ว) เพื่อเก็บเป็นข้อมูลว่าพนักงานท่านดังกล่าวเคยชำระหนี้สินมาแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด เพื่อใช้ตรวจสอบและแสดงยอดรวมภาระหนี้สินที่เคยหักพนักงานไว้ตอนที่ทำพนักงานลาออก
วิธีการนำเข้าจัดการหนี้สินพนักงาน
การนำเข้าจัดการหนี้สินพนักงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลทการนำเข้าข้อมูล และการนำเข้าไฟล์จัดการหนี้สินพนักงาน ดังนี้
วิธีการดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลทนำเข้าข้อมูลหนี้สินพนักงาน
ก่อนที่จะทำรายการนำเข้าข้อมูลหนี้สินพนักงาน ลูกค้าจะต้องทำการดาวน์โหลดเทมเพลทนำเข้าข้อมูลหนี้สินพนักงาน เพื่อกรอกรายละเอียดข้อมูลภาระหนี้สินที่ต้องการนำเข้า ดังนี้
1. ไปที่เมนู “จัดการหนี้สินพนักงาน” และกดปุ่ม “นำเข้าข้อมูล”
2. กด “ดาวน์โหลด” (ตรงหัวข้อที่ 1 ดาวน์โหลดเทมเพลท) เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx (Excel)
3. กรอกรายละเอียดข้อมูลภาระหนี้สินที่ต้องการนำเข้า
ข้อควรรู้และควรระวังในการกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel ที่ใช้นำเข้าหนี้สินพนักงาน
ในการกรอกข้อมูลลงในไฟล์เทมเพลทนำเข้าหนี้สินพนักงาน (ไฟล์ Excel) มีข้อควรรู้และข้อควรระวัง ดังนี้
1. เลขอ้างอิง คือลำดับของเอกสาร หรือใช้ในการแยกว่าภาระหนี้สินเลขอ้างอิงนี้เป็นของใคร เช่น เลขอ้างอิง 1 ของนาย A หากมีข้อมูลภาระหนี้สินทั้งหมด 5 แถว จะต้องกรอกเลขอ้างอิงเป็น 1 ทั้ง 5 แถว
2. รหัสพนักงาน ให้กรอกรหัสพนักงานที่ต้องการนำเข้าภาระหนี้สิน
3. ชื่อ-นามสกุล ชื่อของพนักงานที่ต้องการนำเข้าภาระหนี้สิน ในส่วนของช่องชื่อจะกรอกหรือไม่กรอกก็ได้หลังจากนำเข้าไปแล้ว ระบบจะดึงข้อมูลชื่อจากรหัสพนักงานมาแสดงให้
4. งวดที่ คืองวดที่จะหักเงินพนักงาน
5. รหัสประเภท คือรหัสอ้างอิงของภาระหนี้สินที่จะทำการนำเข้า
6. เดือน คือปี-เดือน ที่ต้องการหักภาระหนี้สินในงวดนั้น ๆ ทางเราแนะนำให้กรอก “ปี-เดือน” ที่จะหักจะได้รูปแบบเป็น “YYYY-MM” เช่น “2023-08”
7. วันที่ คือวันที่เริ่มทำสัญญาภาระหนี้สิน ทางเราแนะนำให้กรอกข้อมูลรูปแบบ “DD-MM-YYYY” เช่น “20-08-2023”
8. เงินต้น คือจำนวนเงินก่อนที่จะคำนวณกับดอกเบี้ยในการหักงวดนั้น ๆ หากกรอก 0 หรือ ค่าว่าง ระบบจะนำเข้ายอดเป็น 0 ให้ จะไม่คำนวณอัตโนมัติให้เหมือนกับที่เพิ่มจากหน้าระบบ
3.9 เริ่มหักเดือน ให้ใส่ ปี-เดือน ที่จะเริ่มทำการหักภาระหนี้สิน ทางเราแนะนำให้กรอก “ปี-เดือน” ที่จะหักจะได้รูปแบบเป็น “YYYY-MM” เช่น “2023-08”
10. ดอกเบี้ย คือจำนวนดอกเบี้ยที่จะหักในแต่ละงวดโดยให้ระบุเป็นจำนวนบาท
11. จำนวนเงินทั้งหมด คือจำนวนเงินหักในแต่ละงวดที่รวมดอกเบี้ยแล้ว รวมกันทุกงวดเป็นจำนวนเท่าใด
12. รวมเป็นเงิน คือจำนวนเงินต้น+ดอกเบี้ย = รวมเป็นเงิน ในแต่ละงวด
13. เงินดาวน์ คือจำนวนเงินที่พนักงานได้จ่ายมาเป็นเงินส่วนแรกในภาระหนี้สินรายการนี้แล้ว
14. สถานะ คือสถานการณ์การชำระของงวดนั้นว่ามีการชำระไปแล้วหรือยัง โดยแบ่งสถานะเป็น 2 สถานะได้ดังนี้ Y = ชำระแล้ว, N = ยังไม่ชำระ
15. ยอดกู้ คือจำนวนเงินทั้งหมด-เงินดาว = ยอดกู้ ที่พนักงานได้กู้ไป
16. ดอกเบี้ย คืออัตราดอกเบี้ยที่หักคิดเป็นกี่ % หรือมูลค่าดอกเบี้ย หากไม่มีให้ใส่ 0
17. รูปแบบดอกเบี้ย คือรูปแบบการคิดดอกเบี้ย โดยแยกเป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1) ต้นลดดอกลด 2) ดอกเบี้ยคงที่ 3) กำหนดมูลค่าดอกเบี้ย หลักการคำนวณดอกเบี้ยทั้ง 3 รูปแบบ
18. จำนวนงวด คือจำนวนงวดที่ต้องการหักโดย 1 งวดนับเป็น 1 เดือน กรณีแบ่งงวดจ่ายระบบจะทำการนำยอดหักในงวดนั้น ÷ จำนวนงวดแบ่งจ่ายในรอบเดือน แล้วเฉลี่ยหัก เช่นแบ่งจ่าย 2 งวด “1,000 ÷ 2 = 500/งวด”
19. หมายเหตุ คือข้อมูลที่ต้องการใส่แจ้งเพิ่มเติมในภาระหนี้สิน เช่น หักพนักงานเข้าใหม่, หักค่าทำแจกันแตก
วิธีการนำเข้าไฟล์จัดการหนี้สินพนักงาน
เมื่อทำการดาวน์โหลดเทมเพลทนำเข้าข้อมูลหนี้สินพนักงานเรียบร้อยแล้ว ให้ลูกค้าทำรายการนำเข้าข้อมูลหนี้สินพนักงานตามขั้นตอน ดังนี้
1. ไปที่เมนู “จัดการหนี้สินพนักงาน” กดปุ่ม “นำเข้าข้อมูล”