PageView Facebook

การตั้งค่าเวลาการทำงาน

  เมนูการตั้งค่าเวลาการทำงาน เป็นการตั้งค่าเงื่อนไขพิเศษเพื่อให้ระบบตรวจสอบเวลา มาเช้า, มาสาย, พักเกิน, พักไว, กลับก่อน และกลับช้า โดยสามารถกำหนดการหักเงินหรือการให้เงินพนักงานได้  รวมถึงการตั้งค่าเงื่อนไขสำหรับการคิดคำนวณเงินโอทีให้กับพนักงานด้วย

  หากมีการตั้งค่าเวลาการทำงานในส่วนนี้ ระบบจะตรวจจับเวลาที่พนักงานมีการลงเวลาเข้ามา มีมาเช้า, สาย, พักเกิน, พักไว, กลับก่อน และกลับช้า อย่างไร ในช่วงเวลาของกะการทำงาน


เช่น กะการทำงาน 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

1.กรณีช่วงเวลาเข้างาน 08:00 น.

หากพนักงานมีการลงเวลาก่อน 08:00 น. สามารถใช้งานฟังก์ชันมาเช้า เพื่อให้เงินพนักงานเพิ่มได้

หากพนักงานมีการลงเวลา 08:20 น. สามารถใช้ฟังก์ชัน สาย เพื่อให้ระบบหักเงินพนักงานได้


2.กรณีช่วงพัก 12:00 – 13:00 น.

หากพนักงานมีการเริ่มพักที่ 12:00 น. และ มีการลงเวลาหลังช่วงพัก 13:30 น. สามารถใช้งานฟังก์ชัน พักเกิน เพื่อทำการหักเงินพนักงานได้

หากพนักงานมีการเริ่มพักที่ 12:00 น. และ มีการลงเวลาหลังช่วงพัก 12:30 น. สามารถใช้งานฟังก์ชัน พักไว เพื่อให้เงินพนักงานเพิ่มได้


3.กรณีช่วงหลังเวลาเลิกงาน 17:00 น.

หากพนักงานมีการลงเวลาออกงาน 16:40 น. สามารถใช้งานฟังก์ชัน กลับก่อน เพื่อให้ระบบหักเงินพนักงานได้

หากพนักงานลงเวลาออกงานช่วง 17:30 น. สามารถใช้งานฟังก์ชัน กลับช้า เพื่อให้ระบบเพิ่มเงินให้กับพนักงานได้

ซึ่งฟังก์ชัน กลับช้า สามารถใช้งานแทนการขอเอกสารโอทีได้ด้วยเช่นกัน


การตั้งค่าเวลาการทำงาน

  หากต้องการเปิดใช้งานฟังก์ชันการตรวจสอบเวลาการทำงานต่าง ๆ สามารถเข้ามาที่เมนู ตั้งค่า จากนั้นเลือกที่ตั้งค่าการคำนวณ และ ตั้งค่าเวลาการทำงาน

หากต้องการเปิดใช้งานฟังก์ชันใด สามารถคลิ๊กปุ่มแก้ไข ที่ เพื่อทำการเปิดใช้งาน และกำหนดเงื่อนไข ในการตรวจจับเวลาของพนักงานอีกครั้ง โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขของพนักงานรายวันและรายเดือนแตกต่างกันได้


  เมื่อทำการเปิดใช้งานเรียบร้อยแล้วระบบจะแสดงเงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อให้ทำการกำหนดการตรวจจับเวลาของพนักงาน


ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข มาเช้า

1.เปิดใช้งานฟังก์ชันตรวจจับเวลาดังกล่าว

2.เป็นการกำหนดนาที ที่จะเริ่มให้ระบบตรวจสอบเวลา เช่น เริ่มนับมาเช้าก่อนเริ่มงานต่ำสุด 5 นาที และ นับมาเช้าสูงสุดที่ 30 นาที

3. กำหนดว่าพนักงานจะได้รับเงินหรือไม่ หากมาเช้าตามเงื่อนไข

4. เป็นการกำหนดนาที ที่จะเริ่มให้ระบบคำนวณเงินเพิ่มให้กับพนักงาน (แนะนำให้เป็นการตั้งค่านาทีต่ำสุด / สูงสุด ตามเงื่อนไขในข้อที่ 2 )

5. รูปแบบการให้เงินพนักงาน

6. กรณีมีการให้เงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 –17:00 น.

หากพนักงานลงเวลา 07:45 น. ระบบจึงจะคำนวณมาเช้าให้ 15 นาที เนื่องจากอยู่ในเรทนาทีที่ มาเช้ามากกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที


หากพนักงานลงเวลา 06:50 น. ระบบจะคำนวณมาเช้าให้สูงสุดที่ 30 นาทีเท่านั้น ตามการตั้งค่านาทีสูงสุดของเงื่อนไข



 ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข สาย

1.เปิดใช้งานฟังก์ชันตรวจจับเวลาดังกล่าว

2.เป็นการกำหนดนาที ที่จะเริ่มให้ระบบตรวจสอบเวลา เช่น เริ่มนับมายหลังเริ่มงานนาทีต่ำสุด 5 นาที และนับสายสูงสุดที่ 60 นาที

3. เป็นการกำหนดว่ากรณีพนักงานเข้างานสาย จะเริ่มนับย้อนตั้งแต่เวลาเริ่มงาน หรือ นับต่อจากเงื่อนไขในข้อที่ 2

4. กำหนดว่าจะหักเงินหรือไม่หักเงินพนักงาน หากมาสายตามเงื่อนไข

5. เป็นการกำหนดนาทีที่จะเริ่มให้ระบบคำนวณหักเงินให้กับพนักงาน (แนะนำให้เป็นการตั้งค่านาทีต่ำสุด/สูงสุด ตามเงื่อนไขในข้อที่ 2 )

6.เป็นการกำหนดนาทีที่จะคำนวณเงินหักให้กับพนักงาน ว่าจะเริ่มหักจากเวลาเริ่มงาน หรือ หักนับจากเงื่อนไขในข้อที่ 5

7. รูปแบบการให้เงินพนักงาน

8. กรณีมีการให้เงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว กรณีเงื่อนไข 3 เลือกตัวเลือกแรก (นับหลังเวลาเริ่มงาน)

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 –17:00 น.

หากพนักงานลงเวลา 08:07 น. ระบบจึงจะคำนวณสายให้ 7 นาที (คำนวณตามจริง) เนื่องจากอยู่ในเรทนาทีที่ สายมากกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที


หากพนักงานลงเวลา 09:10 น. ระบบจะคำนวณสายให้สูงสุดที่ 60 นาทีเท่านั้น ตามการตั้งค่านาทีสูงสุดของเงื่อนไข และ จะแสดงขาดงานอีก 10 นาทีที่หายไป



 ตัวอย่างเงื่อนไข กรณีเงื่อนไข 3 และ 5 เลือกตัวเลือกที่ 2 (นับต่อจากเงื่อนไขข้อที่ 2 )

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 –17:00 น.

หากพนักงานลงเวลา 08:07 น. ระบบจึงจะคำนวณสายให้ 2 นาที (หัก 5 นาทีต่ำสุดออกก่อน) เนื่องจากอยู่ในเรทนาที ที่สายมากกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที หากพนักงานลงเวลา


หากพนักงานลงเวลา 09:10 น. ระบบจะคำนวณสายให้สูงสุดที่ 60 นาทีเท่านั้น ตามการตั้งค่านาทีสูงสุดของเงื่อนไข และจะแสดงขาดงานอีก 5 นาทีที่หายไป



 ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข พักเกิน

1.เปิดใช้งานฟังก์ชันตรวจจับเวลาดังกล่าว

2.เป็นการกำหนดนาที ที่จะเริ่มให้ระบบตรวจสอบเวลา เช่น เริ่มนับพักเกินหลังเวลาเลิกพัก 0 นาที และนับพักเกินสูงสุดที่ 60 นาที

3.กำหนดว่าจะหักเงินพักเงินพนักงานหรือไม่ หากพักเกินตามเงื่อนไข

4.เป็นการกำหนดนาทีที่จะเริ่มให้ระบบคำนวณหักเงินให้กับพนักงาน (แนะนำให้เป็นการตั้งค่านาทีต่ำสุด/สูงสุด ตามเงื่อนไขในข้อที่ 2)

5. รูปแบบการหักเงินพนักงาน

6. กรณีมีการหักเงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

ถ้าพนักงานลงเวลาพักออก 12:00 น. และ เข้างานอีกครั้ง 13:05 น. ระบบจะคำนวณพักเกินให้ 5 นาที


หากพนักงานลงพักออก 12:00 น. และ เข้างานอีกครั้ง 14:15 น. ระบบจะคำนวณพักเกินให้สูงสุดที่ 60 นาทีเท่านั้น ตามการตั้งค่านาทีสูงสุดของเงื่อนไข และ จะแสดงขาดงานอีก 15 นาทีที่หายไป


 ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข กลับก่อน

1.เปิดใช้งานฟังก์ชันตรวจจับเวลาดังกล่าว

2.เป็นการกำหนดนาที ที่จะให้ระบบตรวจสอบเวลา เช่น เริ่มนับกลับก่อน หลังเลิกงานนาทีต่ำสุด 5 นาที และ สูงสุด 60 นาที

3.เป็นการกำหนดว่ากรณีพนักงานกลับก่อน จะเริ่มนับย้อนตั้งแต่นาทีแรก หรือ นับต่อจากเงื่อนไขในข้อที่ 2

4.กำหนดว่าจะหักเงินหรือไม่หักเงินพนักงาน หากกลับก่อนตามเงื่อนไข

5.เป็นการกำหนดนาทีที่จะเริ่มให้ระบบคำนวณหักเงินให้กับพนักงาน (แนะนำให้เป็นการตั้งค่านาทีต่ำสุด /สูงสุด ตามเงื่อนไขในข้อที่ 2)

6.เป็นการกำหนดนาที ที่จะคำนวณหักเงินให้กับพนักงาน ว่าจะเริ่มหักจากเวลาเลิกงาน หรือหักนับจากเงื่อนไขในข้อที่ 5

7.รูปแบบการให้เงินพนักงาน

8.กรณีมีการหักเงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว กรณีเงื่อนไข 3 เลือกตัวเลือกแรก (นับหลังเวลาเลิกงาน)

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

ถ้าพนักงานลงเวลาออกงาน 16:35 น. ระบบจะคำนวณกลับก่อนให้ 25 นาที (ตามจริง) เนื่องจากมีการกลับก่อนมากว่า 5 นาที และ อยู่ในเรทน้อยกว่า 60 นาที


หากพนักงานลงเวลออกงาน 15:30 น. ระบบจึงจะคำนวณกลับก่อนให้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และ ขาดงานอีก 30 นาที เนื่องจากพนักงานนาทีสูงสุดของกลับก่อนตั้งไว้ 60 นาที



 เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว กรณีเงื่อนไข 3 เลือกตัวเลือกแรก (นับต่อจากเงื่อนไขข้อที่ 2 )

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

ถ้าพนักงานลงเวลาออกงาน 16:35 น. ระบบจะคำนวณกลับก่อนให้  20 นาที เนื่องจากพนักงานกลับก่อน 25 นาที (หัก 5 นาทีที่หยวนให้)


หากพนักงานลงเวลออกงาน 15:30 น. ระบบจึงจะคำนวณกลับก่อนให้ 1 ชั่วโมง และขาดงานอีก 25 นาที (หัก 5 นาทีที่หยวนออก)


ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข กลับช้า


1.เปิดใช้งานฟังก์ชันตรวจจับเวลาดังกล่าว

2.เป็นการกำหนดนาที ที่จะให้ระบบตรวจสอบเวลา เช่น เริ่มนับกลับช้า หลังเลิกงาน 10 นาที และ สูงสุด 60 นาที

3.เป็นการกำหนดว่ากรณีพนักงานกลับช้า จะเริ่มนับย้อนตั้งแต่นาทีแรก หรือ นับต่อจากเงื่อนไขในข้อที่ 2

4.กำหนดว่าจะให้เงินหรือไม่ หากพนักงานกลับช้าตามเงื่อนไข

5.เป็นการกำหนดนาที ที่จะเริ่มให้ระบบคำนวณเงินให้กับพนักงาน (แนะนำให้เป็นการตั้งค่านาทีต่ำสุด /สูงสุด ตามเงื่อนไขในข้อที่ 2 )

6.เป็นการกำหนดนาทีที่จะคำนวณเงินให้กับพนักงาน ว่าจะเริ่มให้จากเวลาเลิกงาน หรือ หักนับจากเงื่อนไขในข้อที่ 5

7.รูปแบบการให้เงินพนักงาน

8.กรณีมีการให้เงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หมายเหตุ . กรณีกลับช้า สามารถตั้งค่าให้คำนวณโอทีแทนการขอเอกสารโอทีในระบบได้ ระบบจะคำนวณค่าล่วงเวลาให้อัตโนมัติ


เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว กรณีเงื่อนไข 3 เลือกตัวเลือกแรก (นับหลังเวลาเลิกงาน)

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

ถ้าพนักงานลงเวลาออกงาน 17:45 น. ระบบจะคำนวณกลับช้าให้45 นาที (ตามจริง)


หากพนักงานลงเวลออกงาน ช่วง 17:00 - 17:10 น. ระบบจึงจะไม่คำนวณกลับช้าให้ เนื่องจากนาทีต่ำสุด คือ 10 นาที


หากพนักงานลงเวลาออกงาน 18:30 น. ระบบจะคำนวณกลับก่อนให้สูงสุดที่ 60 นาทีเท่านั้น ตามการตั้งค่านาทีสูงสุดของเงื่อนไข

 

เงื่อนไขตัวอย่างดังกล่าว กรณีเงื่อนไข 3 เลือกตัวเลือกแรก (นับต่อจากเงื่อนไขข้อที่ 2 )

กะการทำงาน คือ 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น.

ถ้าพนักงานลงเวลาออกงาน 17:45 น. ระบบจะคำนวณกลับช้าให้ 35 นาที (หักช่วงเวลาหน่วงนาทีต่ำสุด 10 นาทีออก)


ตัวอย่างการตั้งค่าเงื่อนไข โอที

  กรณีการตั้งค่าโอที เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชันโอที ระบบจะแสดงเงื่อนไขเพิ่มเติมในการตั้งค่าเพิ่มเติม โดยการ์ดโอที จะสามารถแก้ไขชื่อโอทีได้ตามลูกค้าต้องการ รวมถึงสามารถกำหนดได้ว่าโอทีประเภทนี้จะสามารถขอเอกสารในสถานะวันใดได้บ้าง โดยมีทั้งวันทำงาน วันหยุด หรือ ทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถตั้งค่าเงื่อนไขของพนักงานแต่ละประเภทได้ด้วย ทั้ง รายเดือน, รายวัน และ เหมาจ่าย


1. เปิดใช้งานคำนวณโอที

2.การกำหนดนาที ที่จะให้ระบบเริ่มคำนวณโอทีหลังเวลาเลิกงาน

3.เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่าจะให้ระบบคำนวณโอทีตั้งแต่หลังเวลาเลิกงานหรือ คำนวณต่อจากเงื่อนไขในข้อที่ 2

4.กำหนดเงื่อนไขการได้รับเงิน

5.กำหนดชั่วโมงสูงสุดในการทำโอที โดยหากเลือก ตามกะการทำงาน เช่นกะการทำงานในวันนั้น มี 9 ชั่วโมง เอกสารโอทีจะสามารถขอได้สูงสุด 9 ชั่วโมง ตามกะการทำงาน

6. การปัดเศษชั่วโมงในการทำโอที

6.1 ไม่ปัดเศษ = คิดตามจริง

6.2 ปัดลงครึ่งชั่วโมง =กรณีพนักงานทำโอที 1 ชั่วโมง 45 นาที ระบบจะปัดเศษ 15 นาทีทิ้ง เป็น 1 ชั่วโมง 30 นาที

6.3 ปัดลงเต็มชั่วโมง = กรณีพนักงานทำโอที 1 ชั่วโมง 45 นาที ระบบจะปัดเศษ 45 นาทีทิ้ง เป็น 1 ชั่วโมเต็มเท่านั้น

7.กรณีมีการให้เงินพนักงาน ต้องการนำยอดเงินนี้ไปคำนวณกับอะไรบ้าง โดยมี ประกันสังคม, ภาษี และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


ตัวอย่างการตั้งค่า ปัดเศษชั่วโมง ของการคำนวณโอที

กะการทำงาน 08:00 – 12:00 – 13:00 – 17:00 น. พนักงานทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ 17:00 – 19:45 น.

ไม่ปัดเศษ  :  ระบบจะคำนวณเอกสารโอทีตามจริง คือ 2 ชั่วโมง 45 นาที


ปัดลงครึ่งชั่วโมง : ระบบจะคำนวณเอกสารโอที โดยให้หน่วยนาทีเต็มครึ่งชั่วโมง ระบจะคำนวณให้เพียง 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยหัก 15 นาทีออกให้


ปัดลงเต็มชั่วโมง : ระบบจะคำนวณเอกสารโอที โดยปัดลงให้เต็มชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้เพียง 2 ชั่วโมง โดยหัก 45 นาทีออกให้


  สรุปได้ว่า เมนูการตั้งค่าเวลาการทำงาน เป็นการตั้งค่าเพื่อเงื่อนไขพิเศษเพื่อให้ระบบตรวจสอบเวลาของพนักงาน เช่น การมาเช้า, มาสาย, พักไว, พักเกิน, กลับก่อน และ กลับช้า รวมถึงการตั้งค่าเงื่อนไขการคำนวณโอที ให้กับพนักงาน ซึ่งสามารถกำหนดเงื่อนไขของพนักงาน 3 ประเภทที่แตกต่างกันได้ เช่น พนักงานรายวัน, พนักงานรายเดือน, พนักงานเหมาจ่าย

  โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขการหักเงิน หรือการได้รับเงินเพิ่ม เพื่อให้ระบบคำนวณยอดหัก/เงินได้ให้กับพนักงานได้อัตโนมัติ โดยที่ HR ไม่ต้องการการคำนวณเอง