PageView Facebook
date_range 31/01/2024 visibility 3777 views
bookmark HR Knowledge
Q&A ลูกจ้างลางานไปสอบได้หรือไม่? - blog image preview
Blog >Q&A ลูกจ้างลางานไปสอบได้หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ หลาย ๆ คนอาจยังสงสัยว่า ลูกจ้างสามารถลางานไปสอบได้หรือไม่ ? และหากนายจ้างรู้สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ? สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


Q: ลูกจ้างลางานไปสอบได้หรือไม่ ?


หลายคนคงสงสัยกันว่า ลูกจ้างสามารถลางานไปสอบได้หรือไม่ ? แล้วหากลูกจ้างลาไปสอบ นายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างหรือไม่ ? ไปหาคำตอบกันเลย



A: ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิลาไปสอบได้ เนื่องจากลูกจ้างมีสิทธิในการลา และไม่มีเจตนาทำให้นายจ้างเสียหาย เพียงต้องการใช้สิทธิลา ไปทำธุระส่วนตัวเพียงเท่านั้น


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8483/2559 วางหลักไว้ว่า

ในกรณีที่ลูกจ้างลางานไปสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการโดยไม่ทำบันทึกแจ้งขออนุญาตนายจ้าง และใช้สิทธิลาป่วย ลากิจไปโดยอ้างเหตุไม่ตรงกับธุระที่ลูกจ้างไปกระทำ เป็นเรื่องที่ลูกจ้างต้องการใช้สิทธิลาไปทำธุระส่วนตัวมากกว่าคิดจะทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ประกอบกับขณะนั้นลูกจ้างไม่อาจคาดหมายว่าจะสอบคัดเลือกได้หรือไม่ เช่นนี้ ไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างจงใจหรือเจตนาโดยประสงค์ให้นายจ้างได้รับความเสียหาย แม้ลูกจ้างจะมีความผิดอยู่บ้างในเรื่องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรื่องบันทึกขออนุญาตไปสอบบรรจุข้าราชการ และแจ้งเหตุลาป่วย ลากิจไม่ตรงความจริง


Q: ลูกจ้างลางานไปสอบ นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่?



A: นายจ้างอาจมีการลงโทษได้ แต่ไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง หากมีคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม


การที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย / ลากิจ ไม่ตรงสาเหตุความเป็นจริงแต่การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างอาจลงโทษได้แต่ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม


สรุปลูกจ้างสามารถลาไปสอบได้หรือไม่ ?


ลูกจ้างสามารถใช้วันลาไปสอบได้ เนื่องจากเป็นสิทธิวันลาของลูกจ้าง แต่หากนายจ้างรู้ว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย ลากิจ ไม่ตรงสาเหตุกับธุระที่ลูกจ้างไปทำ นายจ้างสามารถลงโทษได้ แต่ไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างใช้สิทธิในการลาไปทำธุระส่วนตัว ไม่มีเจตนาทำให้นายจ้างเสียหาย หากนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลดังกล่าว ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้