PageView Facebook
date_range 28/12/2022 visibility 210359 views
bookmark HR Knowledge
หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร นำไปใช้ทำอะไร และขอที่ใครได้บ้าง - blog image preview
Blog >หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร นำไปใช้ทำอะไร และขอที่ใครได้บ้าง

พนักงานทุกคนควรทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงานว่าคืออะไร ทำไมเอกสารนี้จึงสำคัญต่อการยื่นสมัครงาน และขอที่ใครได้บ้าง หาคำตอบได้ที่นี่


ทำความรู้จักหนังสือรับรองการทำงาน

หนังสือรับรองการทำงานถือเป็นอีกหนึ่งเอกสารที่มีความสำคัญสำหรับตัวพนักงานอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องยื่นสมัครงานในบริษัทหรือองค์กรใดก็ตาม เนื่องจากฝ่าย HR ที่สัมภาษณ์งานต้องการทำความรู้จักคุณให้ได้มากที่สุด ทั้งนิสัยการทำงานหรือประสบการณ์ที่เคยผ่านมาอย่างไรบ้าง โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการตรวจสอบใบรับรองการทำงานของคุณนั่นเอง ซึ่งวันนี้ HumanSoft จะมาแนะนำให้รู้จักกับหนังสือรับรองการทำงานให้พนักงานทุกคนได้รู้จักและเข้าใจถึงประโยชน์ของมันกัน


หนังสือรับรองการทำงาน คืออะไร ?

หนังสือรับรองการทำงาน (Employment Reference Letter) คือ เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในการรับรองความสามารถและประสบการณ์การทำงานของบุคคลที่มาสมัครงาน ซึ่งออกให้โดยนายจ้างเมื่อผ่านช่วงทดลองงาน หรือเมื่อสัญญางานสิ้นสุดลงกับนายจ้างเดิม เพื่อเป็นเอกสารที่ใช้ในการรับรองว่าพนักงานคนนั้นได้ผ่านการทำงานที่นั้น ๆ มาแล้ว



หนังสือรับรองการทำงาน ไว้ใช้ทำอะไร

1. ใช้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงถึงประสบการณ์การทำงานที่เคยผ่านมาเพื่อใช้ในการสมัครงานครั้งใหม่

2. ใช้เพื่อประกอบการสมัครเพื่อเรียนต่อในระดับหลักสูตรปริญญาขั้นที่สูงขึ้น

3. ใช้ประกอบในการทำธุรกรรมกับธนาคาร เช่น คำขอกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือยื่นขอทำบัตรเครดิต เป็นต้น

4. ใช้สำหรับการยื่นสมัครงานให้แก่ฝ่าย HR เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการสัมภาษณ์มากขึ้น



ข้อมูลในใบรับรองการทำงานต้องมีอะไรบ้าง

โดยส่วนใหญ่ใบรับรองการทำงานนั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของบุคคลนั้น ๆ เช่น

● ตราครุฑ หรือตราบริษัทของนายจ้าง

● ออกหนังสือว่าที่ไหน และระบุเวลาที่ออกอย่างชัดเจน

● ชื่อของบุคคลนั้น ๆ ที่ขอหนังสือรับรองการทำงาน

● ชื่อของตำแหน่งผู้ออกใบรับรอง และลายเซ็นรองรับ

● ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบอย่างละเอียด

● ระยะเวลาที่ทำงานหรือสัญญาการทำงานขั้นต่ำ

● รายละเอียดการทำงาน

● ผลงานที่ได้รับมอบหมาย


ใบรับรองการทำงานขอที่ใคร ออกเองได้ไหม ?

ลูกจ้างไม่สามารถออกใบรับรองการทำงานได้เอง ซึ่งต้องขอที่นายจ้างหรือหัวหน้างานเดิม หรือหากไม่สามารถขอหนังสือรับรองการทำงานจากผู้ปฏิบัติหน้าที่กับตนในอดีตได้ สามารถขอจากบุคคลที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคคลนั้น เช่น ผู้อำนวยการของบริษัท หรือผู้ที่เคยให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการทำงาน แต่ควรรีบขอไว้ล่วงหน้า เพราะหากพนักงานหรือลูกจ้างลาออกไปนาน และทำเรื่องขอย้อนหลังข้อมูลอาจนำออกจากระบบของบริษัทเก่าแล้ว ทำให้การขอหนังสือรับรองเป็นเรื่องยากขึ้นได้


ลูกจ้างทุจริต ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้ไหม

ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดสัญญาการทำงานลงแล้ว นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้ทุกกรณี เพื่อแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมาระยะเวลานานเท่าใด  และมีรายละเอียดการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งนายจ้างไม่มีสิทธิ์ในการระบุสาเหตุการเลิกจ้างในใบรับรองรองในทุกกรณี แม้ว่าลูกจ้างจะลาออกเองหรือโดนไล่ออกก็ตาม

หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ออกหนังสือรับรองให้ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องศาลแรงงานได้ เพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14 ที่ว่านายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น


ใบรับรองการทำงาน มีอายุเท่าไหร่

หากนำไปใช้ยื่นในระบบราชการตามกฏหมายใบรับรองการทำงานจะมีอายุ 30 วัน หลังจากนั้นจะกลายเป็นเอกสารเก่า ไม่สามารถใช้งานได้ แต่หากใช้ในการยื่นสมัครงานในบริษัทเอกชนทั่วไป ไม่ต้องกังวลเรื่องระยะเวลาการออกใบรับรองเนื่องจากเอกสารนี้ใช้เพื่อกล่าวถึงประสบการณ์ที่เคยผ่านการทำงานนั้น ๆ มาก่อนให้กับฝ่ายบุคคลทราบเท่านั้น


พนักงานที่ต้องการยื่นสมัครงานหรือทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ก็ตาม นอกจากสลิปเงินเดือนที่สำคัญแล้ว หนังสือรับรองการทำงานก็นับเป็นอีกเอกสารที่มีความสำคัญไม่แพ้กันกับตัวลูกจ้างและพนักงานทุกคน เพราะสามารถนำไปใช้ในการยืนยันและกล่าวถึงประสบการณ์การทำงานที่เคยผ่านมาให้กับฝ่าย HR เพื่อให้สมัครงานครั้งใหม่ได้สะดวกขึ้น อีกทั้งใบรับรองการทำงานยังเป็นเอกสารประกอบการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานราชการได้อีกด้วย



hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้