PageView Facebook
date_range 04/08/2023 visibility 18557 views
bookmark HR Knowledge
เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฏหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง? - blog image preview
Blog >เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฏหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?

หลายๆ คนยังสงสัยอยู่ไหม ว่ารายได้ไหน ถือเป็นเงินค่าจ้างบ้าง? มาหาคำตอบไปด้วยกันในบทความนี้เลย


เรื่องที่คุณอาจสนใจ


เงินค่าจ้าง คืออะไร


ก่อนอื่นต้องมาอธิบายคำนิยามกันก่อนว่า เงินค่าจ้างคืออะไร?  ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว เงินค่าจ้าง คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด วันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างด้วย

 


และในด้านอัตราค่าจ้างยังสามารถคำนวณมาจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ความสามารถในการทำงานประสบการณ์ ความต้องการของตลาดแรงงาน ภูมิภาคที่ทำงาน  และในบางกรณีค่าจ้างอาจแตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย


เงินค่าจ้าง มีกี่แบบ อะไรบ้าง


เงินค่าจ้างมีหลายแบบ โดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ นโยบายการจ้างงาน และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนี้

 


  • เงินเดือน (Salary) : เป็นการจ่ายเงินค่าจ้างในรูปแบบเงินคงที่ทุกเดือนทำงานหลายวันในสัปดาห์ รับค่าตอบแทนโดยไม่คำนึงถึงจำนวนวันที่ทำงาน
  • ค่าจ้างรายชั่วโมง (Hourly Wage) : เป็นการจ่ายเงินค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน ผู้ทำงานรับค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติงาน
  • ค่าจ้างโครงการ (Project-based Fee) : การจ้างงานตามโครงการ ซึ่งค่าจ้างจะถูกจ่ายเมื่อโครงการเสร็จสิ้นและนับจำนวนงานที่ทำเสร็จแล้ว
  • ค่าจ้างตามยอดขาย (Commission) : เป็นค่าตอบแทนที่ได้รับตามยอดขายที่ผู้ลูกค้าทำ ซึ่งในบางกรณีค่าจ้างจะเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายที่สำเร็จ
  • ค่าจ้างตามสมรรถนะ (Skill-based Pay) : การจ่ายค่าจ้างโดยพิจารณาจากความสามารถและความชำนาญของผู้ทำงานในงานที่ทำ
  • เงินค่าล่วงเวลา (Overtime Pay) : เมื่อผู้ทำงานทำงานเกินเวลาที่กำหนด จะได้รับเงินค่าจ้างสำหรับช่วงเวลาล่วงเวลา
  • เงินค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุด (Holiday Pay) : เมื่อผู้ทำงานทำงานในวันหยุดที่ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างสำหรับช่วงเวลาที่ทำงานในวันหยุด
  • ค่าล่วงเวลาในวันเย็น (Night Shift Allowance) : เมื่อผู้ทำงานทำงานในช่วงเวลาเย็นหรือกลางคืนที่มีเงินช่วยเหลือ
  • ค่าตอบแทนพิเศษ (Bonus) : เป็นการจ่ายเงินให้กับผู้ทำงานเพิ่มเติมเมื่อมีผลงานที่ดี หรือทำงานในสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

 

การเลือกใช้รูปแบบการจ่ายเงินค่าจ้างนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานประกอบการ และสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างด้วย


แล้วค่าตอบแทนใดบ้างที่ถือเป็นเงินค่าจ้าง? ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


เมื่อค่าจ้าง มีหลากหลายรูปแบบ การพิจารณาว่าเงินประเภทใดเป็นเงินค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มใครองแรงงาน จะต้องแยกพิจารณาตามองค์ประกอบดังนี้


 

1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเท่านั้น

เงินค่าจ้างตามนิยามของกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ต้องเป็น “เงิน” เท่านั้น หากนายจ้างตอบแทนเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน จะไม่ถือเป็นเงินค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของเรา เช่น หุ้น ยูนิฟอร์ม รถยนต์ประจำตำแหน่ง คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือสิ่งของต่างๆ

 

ในกรณีที่นายจ้างจัดให้มีสวัสดิการอาหาร สวัสดิการที่พักหรือสวัสดิการรถยนต์ประจำตำแหน่ง แล้วกลับจ่ายเป็นเงินแทน ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าอาหาร ที่พัก หรือค่าเช่ารถยนต์ประจำทุกๆ เดือนก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นค่าจ้างด้วยเช่นกัน

 

2. จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างงาน

เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างเท่านั้น หากเป็นวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อจูงใจในการทำงาน สร้างขวัญกำลังใจ ให้เพราะความทุ่มเทของลูกจ้าง หรือเพื่อสวัสดิการต่างๆ เงินลักษณะนี้จะไม่ถือเป็นเงินค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


Tips อ่านเพิ่มเติมเรื่อง >> สัญญาจ้างงาน


ตัวอย่างเงินที่เป็นค่าตอบแทนการทำงาน

  • ค่าครองชีพ
  • ค่าตำแหน่ง เงินค่าครองชีพ กับเงินค่าตำแหน่งต่างมีลักษณะจ่ายเป็นประจำและแน่นอนทุกเดือนจึงถือว่าเป็นค่าจ้าง
  • เงินเบี้ยเลี้ยง (กรณีนี้จะต้องพิจารณาว่า ลักษณะงานของลูกจ้างได้เบี้ยเลี้ยงเป็นประจำทุกเดือนหรือไม่  หากลูกจ้างได้เป็นประจำทุกเดือน  เบี้ยเลี้ยงก็จะถือเป็นค่าจ้างด้วย)
  • ค่าคอมมิชชั่น กรณีที่ลูกจ้างทำงานเป็นพนักงานขาย รายได้ของลูกจ้างจะมีสองส่วนก็คือเงินเดือนกับค่าคอมมิชชั่นเป็นประจำทุกเดือน แม้ว่าจำนวนค่าคอมมิชชั่นจะไม่เท่ากัน แต่ก็ถือว่า ค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าจ้างแล้ว

 

ตัวอย่างเงินที่ไม่ถือเป็นค่าตอบแทนการทำงาน

  • เงินสวัสดิการต่างๆ ที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน เช่น เงินค่าที่พัก เบี้ยขยัน ค่าเช่าบ้าน (มีระเบียบการจ่ายชัดเจน) เงินเพิ่มจูงใจที่จะได้เมื่อทำยอดขายได้ตามเป้า เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าอาหารกลางวัน โบนัส เบี้ยประชุมกรรมการ เป็นต้น 
  • เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยเหลือการทำงานของลูกจ้าง เช่น ค่าน้ำมันรถยนต์ (มีใบเสร็จมาแสดง) เงินค่ารับรองลูกค้า เงินค่าจอดรถ เงินค่าทางด่วน เป็นต้น

 

3. จ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนเวลาการทำงานปกติ

เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนในเวลาการทำงานปกติเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือตามผลงาน จากระยะเวลาในวันทำงานปกติ เงินอื่นๆ ที่จ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนนอกจากเวลาทำงานปกติ ไม่ถือเป็นเงินค่าจ้าง เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด เป็นต้น

 

4. เงินที่จ่ายให้ในวันหยุดและวันลา โดยมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับ

เงินนี้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันลาป่วย วันลาคลอด เป็นต้น ซึ่งเป็นวันที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็ถือเป็นเงินค่าจ้าง

เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันดังกล่าวด้วย


สรุปเงินที่ถือเป็นค่าจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


เมื่อทราบแล้วว่าเงินประเภทใดถือเป็นเงินค่าจ้างในกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว เงินค่าจ้างต่างๆ รวมกันแล้วจะต้องอยู่ภายใต้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายด้วย หากนายจ้างจ่ายไม่ครบอัตราเงินขั้นต่ำ จะต้องโทษอาญาจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นนายจ้างจึงควรศึกษาข้อมูลและดูแลเงินค่าจ้างให้กับลูกจ้างอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม เพราะเงินค่าจ้างนั้น มีบทบาทสำคัญในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ช่วยเพิ่มความพอใจในการทำงาน และส่งผลในผลสัมฤทธิ์และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทั้งสองฝ่าย




โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้