PageView Facebook
date_range 12/07/2024 visibility 6979 views
bookmark HR Knowledge
ค่า Commission มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? สิ่งสำคัญที่ HR ต้องรู้ - blog image preview
Blog >ค่า Commission มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? สิ่งสำคัญที่ HR ต้องรู้

แชร์วิธีการคิดค่า Commission ทุกรูปแบบง่ายๆ ที่ HR นำไปปรับใช้ได้ หากทำความเข้าใจกับรูปแบบของ Commission แต่ละประเภทได้ การคำนวณค่าตอบแทนก็จะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


ว่าด้วยเรื่องค่า “Commission”


ค่า Commission ถือเป็นค่าตอบแทนอีกรูปแบบหนึ่งที่พนักงานจะได้รับ หากทำยอดขายได้ตรงตามเป้าที่องค์กรกำหนด โดยคำนวณมาจากเปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายสินค้าให้ได้เพิ่มมากขึ้น หากยอดขายขององค์กรสูงขึ้น ก็จะช่วยให้องค์กรเติบโต และก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต

 

วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูกันว่า ค่า Commission มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? สิ่งสำคัญที่ HR ต้องรู้ ไปหาคำตอบกันเลย


ค่า Commission แต่ละประเภท


วิธีคิดค่าคอมมิชชันมีหลายรูปแบบและขึ้นอยู่กับบริษัทกำหนด วันนี้เรารวบรวม วิธีคิดค่า Commission ที่มักพบได้บ่อย มาฝาก จะมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง ไปดูกันเลย


 

คอมมิชชันตามระยะเวลาทำงาน

พนักงานขายจะได้เปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชันเพิ่มขึ้นตามจำนวนปีที่พนักงานขายทำงานตามระยะเวลาการทำงานในบริษัทนั้น ๆ เช่น ค่าคอมมิชชันเริ่มต้นที่ 5% เพิ่มเป็น 7% หลังจากพนักงานขายทำงานได้ 2 ปี คอมมิชชันตามระยะเวลาการทำงาน เหมาะกับบริษัทที่ต้องการพนักงานขายที่มีประสบการณ์ เพราะประสบการณ์ด้านการขายจะส่งผลโดยตรงต่อยอดขายของบริษัท

 

คอมมิชชันแบบขั้นบันได

พนักงานขายจะได้รับเงินค่าคอมมิชชันเพิ่มขึ้นตามยอดขายหรือตามผลงานของตัวพนักงานขายเอง หากพนักงานขายสามารถทำยอดขายให้สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ขั้นของคอมมิชชันก็สูงขึ้นตามเท่านั้น เช่น ยอดขาย 10,000-100,000 บาท จะได้ค่าคอมมิชชัน 15% แต่หากขายได้ตั้งแต่ 100,001-300,000 บาท ขึ้นไป พนักงานขายจะได้ค่าคอมมิชชัน 20% คอมมิชชันแบบขั้นบันไดเหมาะกับธุรกิจที่ตั้งเป้ายอดขายได้ชัดเจน เหมาะกับพนักงานขายที่ชอบการแข่งขันสูง และชอบความท้าทาย

 

คอมมิชชันจากกำไร

เป็นระบบคอมมิชชันที่พนักงานขายจะได้รับเงินคอมมิชชันจาก “กำไร” ที่เกิดขึ้นจากการขาย ไม่ได้คิดจาก “ยอดขาย” พนักงานขายจะได้รับส่วนแบ่งจาก “กำไร” ที่พวกเขาสร้าง เพื่อเน้นการขายสินค้า/บริการที่มี “กำไร” สูง พนักงานขายจะได้เปอร์เซ็นต์จากกำไร เช่น ได้ 5%, 10%, 15% หรือ 20% เปอร์เซ็นต์เหล่านี้จะมาจากกำไรของการขายแต่ละครั้ง คอมมิชชันจากกำไรมักใช้กับบริษัทที่ขายและผลิตสินค้าแบบสั่งทำตามออเดอร์ เพราะสินค้าแต่ละประเภทจะมีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้สินค้าแต่ละประเภทมีกำไรที่ไม่เท่ากันไปด้วย

 

คอมมิชชันจากสินค้า

ค่าคิมมิชชันที่จะได้จากสินค้าที่พนักงานขายได้ แน่นอนว่าสินค้าแต่ละประเภทย่อมมีเปอร์เซ็นต์คอมมิชันที่แตกต่างกัน เพราะสินค้าแต่ละประเภทย่อมมีส่วนต่างของกำไร เช่น พนักงานขายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ค่าคอมมิชชัน 10% จากยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และ 15% จากการขายอุปกรณ์ โดยค่าคอมมิชชันจากสินค้ามักใช้กับบริษัทที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท ที่มีส่วนต่างของกำไรที่ต่างกันออกไป

 

คอมมิชชันตามผลงาน

พนักงานขายจะได้ค่าคอมมิชชันตามประสิทธิภาพการทำงานของตนเอง ไม่ได้วัดกันที่ยอดขาย หรือการขาย แต่รวมปัจจัยอื่น ๆ ในการคิดคำนวณด้วย เช่น ความรับผิดชอบ, ตรงต่อเวลา, หรือคะแนนความพึงพอใจที่มาจากลูกค้า เช่น พนักงานขายจะได้ค่าคอมมิชชัน 5% หรืออาจจะได้โบนัสพิเศษ หากพนักงานขายได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าสูงที่สุด ก็รับค่าคอมมิชชันหรือโบนัสพิเศษไปเลย คอมมิชชันตามผลงานเหมาะกับธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการบริการ พนักงานขายจึงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้าเป็นหลัก

 

คอมมิชชันต่อเนื่อง

เป็นระบบคอมมิชชันที่พนักงานขายจะได้รับเงินคอมมิชชันแบบ “ต่อเนื่อง” ที่มาจากยอดขายต่อเนื่องในอดีต พนักงานขายจะได้รับค่าคอมมิชชันจากฐานลูกค้าเดิม ได้ตามรอบเดิม และได้เปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่ลูกค้าจ่ายตามรอบเดิม เช่น 10% จากการจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน ตลอดช่วงที่ลูกค้าใช้บริการนั้น ๆ ของบริษัท คอมมิชชันต่อเนื่องมักใช้กับบริษัทที่มีฐานลูกค้าที่เก็บเงินเป็นรอบ ๆ พนักงานขายก็จะได้รับค่าคอมมิชชันแบบเดิมตามฐานลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท

 

คอมมิชชันตามพื้นที่

พนักงานจะได้รับค่าคอมมิชชันจากยอดขายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ พนักงานขายแต่ละคนจะมีเขตรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน ยอดขายในพื้นที่นั้น ๆ ย่อมเป็นตัวกำหนดค่าคอมมิชชันของพนักงานได้โดยตรง โดยการคำนวณเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรวมในพื้นที่ของตนเอง เช่น พนักงานขายจำด้รับค่าคอมมิชชัน 5% จากยอดขายทั้งหมดในเขตภาคเหนือ เป็นต้น การคิดค่าคอมมิชชันตามพื้นที่เหมาะกับบริษัทที่มีการแบ่งตลาดได้ชัดเจน เหมาะกับธุรกิจที่ขยายตัวเร็ว มีฐานลูกค้ากระจายตัว เน้นให้พนักงานขายเจาะลงไปดูแลลูกค้าในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ

 

เงินเดือน + คอมมิชชัน

พนักงานขายจะได้รับเงินเดือนประจำ และค่าคอมมิชชันเพิ่มเติมจากผลงานการขายของตนเอง เช่น ฐานเงินเดือน 25,000 บาท + 10% เป็นค่าคอมมิชชันจากยอดขายทั้งหมด คอมมิชชันรูปแบบนี้พนักงานขายจะมีฐานเงินเดือนไม่สูงมาก แต่จะเน้นไปที่ค่าคอมมิชชันเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายสินค้าและบริการของบริษัทให้มากขึ้น

 

คอมมิชชันพิเศษสำหรับสินค้าโปรโมชัน

เป็นระบบค่าคอมมิชชันที่เป็นการจ่ายคอมมิชชันเพิ่มเติมสำหรับสินค้าโปรโมชัน เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจัดโปรโมชันเป็นประจำต่อเนื่อง หรือต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าเดิม

 

คอมมิชชันล้วน

รายได้ของพนักงานขายทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชันล้วน ๆ เพราะไม่มีฐานเงินเดือนประจำ เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีราคาสินค้า/บริการสูง มีวงจรการขายที่ยาว ต้องมีฐานลูกค้าเดิมที่ใช้บริการนาน อีกทั้งลูกค้าต้องตัดสินใจซื้อสินค้าและใช้บริการของบริษัทยาวต่อเนื่อง ดังนั้นพนักงานขายต้องอดทน มีความทุ่มเท และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ค่าคอมมิชชันที่ได้มาจะมากหรือน้อยย่อมมาจากความขยันและพยายามของพนักงานขายทั้งหมด

 

คอมมิชชันจากส่วนต่างกำไร

ระบบคอมมิชชันรูปแบบนี้พนักงานขายจะได้รับค่าคอมมิชันจากส่วนต่างของกำไรสินค้าไม่ได้คิดคำนวณจากยอดขาย พนักงานขายจะได้เปอร์เซ็นต์จากส่วนต่างของกำไร เช่น 15% ของส่วนต่างของกำไรจากการขายแต่ละครั้ง เหมาะกับธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลายประเภท และเน้นขายสินค้าที่มีกำไรสูง


สรุป ค่า Commission มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? สิ่งสำคัญที่ HR ต้องรู้

 

โดยสรุปแล้ว การเลือกวิธีคิดค่า Commission ให้เหมาะสมกับธุรกิจ และโครงสร้างองค์กร ย่อมส่งผลดีต่อพนักงานและองค์กรได้อย่างแน่นอน เพราะค่า Commission จะช่วยกระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้พนักงานทุ่มเท มุ่งมั่นในการขายมากยิ่งขึ้น เมื่อพนักงานได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมแล้ว บริษัทเองก็ได้ยอดขายตามเป้าที่บริษัทกำหนด ถือว่าได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

HR สามารถเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft ในการคำนวณเงินงวดพิเศษหรือ คำนวณค่า Comission ได้ง่าย ๆ อีกทั้งยังสามารถกำหนดวันที่จ่าย และดาวน์โหลดรายงาน Slip งวดพิเศษได้ด้วยตนเองได้อีกด้วย นับว่าเป็นโปรแกรมเงินเดือนที่สามารถลดภาระการทำงานของ HR ได้อย่างแท้จริง

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้