PageView Facebook
date_range 26/10/2023 visibility 27413 views
bookmark HR Knowledge
HR ต้องรู้! สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566 - blog image preview
Blog >HR ต้องรู้! สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เป็นเรื่องสำคัญที่ HR และผู้ประกอบการควรรู้ไว้ โดยจะมีเรื่องอะไรอัพเดทมาบ้าง ดูกันในบทความนี้


บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :




พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566


อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือหนึ่งในกฎหมายแรงงาน ที่มีไว้เพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยอันดีและมีความปลอดภัย ในชีวิต ร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควร ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานมักมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการทำงานและการดำเนินงานในสังคมในปัจจุบัน


และในปี 2566 นี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อีกครั้ง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้


1 การทำงานที่บ้าน หรือนอกสถานประกอบการ

เพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23/1 หากมีความจำเป็น นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกัน ให้ลูกจ้างนำงานกลับไปทำที่บ้านหรือปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานได้ หรือให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใดๆ ได้ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง


2. การจัดทำเอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย

โดยการตกลงกันนั้น นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือ หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง อาจตกลงให้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

2.1 ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง

2.2 วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา

2.3 หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่างๆ

2.4 ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูกจ้าง และการควบคุมหรือกำกับการทำงานของนายจ้าง

2.5 ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นอันเนื่องจากการทำงาน


3. สิทธิในการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน

เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานตามปกติแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในช่องทางใดๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุงาน หรือผู้ตรวจงาน ยกเว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยการทำหนังสือไว้แล้วล่วงหน้าก่อน


4. สิทธิอื่นๆ ของลูกจ้างที่ทำงานที่บ้าน

ลูกจ้างที่ทำงานที่บ้าน หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใดๆ ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประอบการ หรือสำนักงานของนายจ้าง


สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับล่าสุด พ.ศ.2566


ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน จึงมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับความจำเป็นในเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้