ลูกจ้างหลาย ๆ คนคงยังสงสัยอยู่ว่า “สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า” สามารถใช้ในทางกฎหมายได้ไหม? วันนี้ HumanSoft มีเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก ไปหาคำตอบได้จากบทความนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A สัญญาจ้างงานมีกี่ประเภท อะไรบ้าง? ที่ HR ควรรู้
- Download แบบฟอร์มสัญญาจ้างงาน แจกฟรี! ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
- องค์ประกอบสำคัญที่ควรมีในสัญญาจ้างงาน ฟรีแลนซ์ พร้อมตัวอย่าง
- Q&A สัญญาจ้างงานบริษัท 1 ปี แต่พนักงานขอลาออกก่อนได้ไหม?
Q: สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า มีผลทางกฎหมายไหม?
สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า หมายถึง การตกลงว่าจ้างและรับจ้างทำงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยไม่ได้จัดทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ตกลงกันด้วยวาจาหรือพฤติกรรมที่แสดงเจตนาในการจ้างงาน ลูกจ้างหลายคนยังคงสงสัยว่า “สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า” มีผลทางกฎหมายหรือไม่? ไปหาคำตอบได้จากบทความนี้
A: สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า ถือว่ามีผลทางกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ได้ระบุไว้ว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” นั่นหมายความว่า แม้นายจ้างและลูกจ้างจะไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่หากมีการตกลงกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้วยวาจา หรือการแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น การระบุหน้าที่การทำงาน ค่าจ้าง วันที่เริ่มงาน หรือแม้แต่การเริ่มปฏิบัติงานจริง ก็ถือว่าเกิด “สัญญาจ้างแรงงาน” ตามกฎหมายแรงงานแล้ว
สรุป สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า มีผลทางกฎหมายไหม?
โดยสรุปแล้ว สัญญาจ้างงานแบบปากเปล่า ถือว่ามีผลทางกฎหมาย เนื่องจากทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงทำสัญญาจ้างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้วยวาจา หรือการแสดงออกทางพฤติกรรม แม้จะไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ข้อตกลงดังกล่าว ก็ถือว่าเพียงพอในการก่อให้เกิด “สัญญาจ้างแรงงาน” ตามกฎหมาย