PageView Facebook
date_range 04/10/2022 visibility 7047 views
bookmark HR Knowledge
สาเหตุการลาออกของพนักงานที่หัวหน้าทีมและ HR ต้องทำความเข้าใจ - blog image preview
Blog >สาเหตุการลาออกของพนักงานที่หัวหน้าทีมและ HR ต้องทำความเข้าใจ

การลาออกนับเป็นเรื่องปกติของบริษัททั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุการลาออกของพนักงานส่วนใหญ่เริ่มมาจากภายในองค์กร เราจะมาแนะนำให้คุณรู้กันว่ามีเหตุผลแบบใดบ้าง


รวม 8 สาเหตุการลาออกของพนักงานที่ HR ต้องทำความเข้าใจ

การลาออก ถือเป็นเรื่องปกติของทุกองค์กรทั่วโลก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พนักงานหรือบุคลากรสามารถทำได้ แต่ถ้าหากองค์กรของคุณมีการลาออกของพนักงานที่ดูจะมากเกินกว่าองค์กรอื่นๆ ทั่วไป อาจทำให้เรื่องธรรมดาแปรเปลี่ยนเป็นปัญหาใหญ่ได้ ดังนั้นนายจ้าง ผู้บริหาร และทีมบริหารงานบุคคลหรือ HR ควรจะต้องมองหาสาเหตุการลาออกอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอัตราการลาออกที่เกินกว่าจะรับมือได้ และเพื่อให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้อย่างที่ควรจะเป็น


สำหรับในบทความนี้ Humansoft จะมาแนะนำกับ 8 สาเหตุการลาออกของพนักงานที่องค์กรส่วนใหญ่มักพบเจอบ่อย ๆ เพื่อให้คุณได้เข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนได้


รวม 8 สาเหตุการลาออกของพนักงานที่ทุกองค์กรมักพบเจอ


1. ปัญหาเรื่องผู้ร่วมงาน

ปัญหากับผู้ร่วมงานนับเป็นสาเหตุการลาออกของพนักงานอันดับแรก ๆ ที่องค์กรส่วนใหญ่มักจะพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ลงรอยกับเพื่อนในทีมมีทัศนคติที่ขัดแย้งกับหัวหน้าทีม เจอหัวหน้าทีมที่ขาดวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำมีปากเสียงกันกับผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ รวมไปถึงปัญหาการกระทบกระทั่งกันที่อาจเกิดจากเรื่องที่เล็กน้อย แต่สำหรับบางคนก็คือน้ำผึ้งหยดเดียว ซึ่งเรื่องเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมาก ทำให้พนักงานจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาเหล่านี้รู้สึกอึดอัดใจจนถึงขั้นต้องการออกไปจากที่องค์กรแห่งนี้เพื่อจบปัญหาและเริ่มต้นใหม่กับองค์กรที่เป็น Safe Zone มากกว่า


2. โครงสร้างขององค์กรที่มีปัญหา

ปัญหาที่ตามมาติด ๆ กับเรื่องของคนก็คือ “โครงสร้างองค์กร” โดยปกติแล้วทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จะต้องมีการวางโครงสร้างที่ชัดเจน เพื่อวางตำแหน่งหรือ Career Path ของพนักงานได้อย่างลงตัว เมื่อองค์กรมีทิศทางที่ดีพนักงานก็เห็นอนาคตที่จะเติบโตไปด้วยกัน แต่ถ้ากลับกันองค์กรของคุณมีโครงสร้างที่ไม่มีความแน่นอนจับพนักงานคนหนึ่งไปรับมือกับหน้าที่ที่ไม่ตรงกับความสามารถของเขา หรือให้รับมือกับภาระที่ Overload เกินไปจนทำให้พวกเขามองไม่เห็นทิศทางที่จะต่อยอดความสำเร็จกับองค์กรแห่งนี้ทางเลือกสุดท้ายของพวกเขาก็คือ “การลาออก” เพื่อไปหาองค์กรที่มอบความมั่นคงให้แก่พวกเขาได้


3. ใช้พนักงานไม่ตรงกับความถนัดและไม่เต็มประสิทธิภาพ

ถัดมาในสาเหตุที่ 3 ยังคงต่อเนื่องกันมาจาก 2 ข้อแรก นั่นคือการเลือกใช้งานบุคคลไม่ตรงกับความสามารถ ปัญหานี้พบเจอได้ตลอดเวลาและทุกสายงาน ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งในแง่มุมที่ดีและไม่ดีไปพร้อม ๆ กัน เพราะในบางครั้งองค์กรอาจมองเห็นในความสามารถของพวกเขา จึงอยากให้พนักงานเหล่านี้ ลองต่อยอดในทิศทางที่องค์กรปรับให้ ตรงนี้ถ้าคนที่รู้สึกดีหรือท้าทายก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่องค์กรมอบโอกาสให้ แต่ในแง่มุมที่ไม่ดีนั้น บางองค์กรอาจไม่เข้าใจถึงตำแหน่งงานที่พนักงานคนนั้นทำอยู่ แล้วโยนภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของเขามาให้แก้ไข มันอาจเป็นปัญหาที่สะสมจนเกิดความไม่มั่นใจและทำให้พวกเขา “ลาออก” ไปในที่สุด


4. องค์กรไม่ให้ความสำคัญในตัวพนักงาน

สาเหตุการลาออกของพนักงานต่อมานั้นเกิดมาจากฝั่งขององค์กรที่เกิดจากการไม่สนับสนุนพนักงานเท่าที่ควรจะเป็น บ่อยครั้งที่องค์กรต่าง ๆ มีพนักงานที่มากความสามารถมีเครดิตการทำงานที่ดี แต่เมื่อเบื้องบนเพิกเฉยละเลยต่อประโยชน์ที่อาจนำไปสู่ความก้าวหน้าต่อธุรกิจได้ เช่น การไม่ไว้วางใจให้เขาทำ Project สำคัญ ไม่มอบหมายงานที่พวกเขาถนัด ไม่มีการปรับตำแหน่ง ไม่ปรับเงินเดือนตามที่ควรจะได้ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พนักงานหมดความท้าทายจากการถูกมองข้ามจนนำไปสู่การแยกทางกับองค์กร



5. สวัสดิการไม่ตอบโจทย์

เรื่องของสวัสดิการถือเป็นเรื่องที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพนักงานทุกคนล้วนเต็มใจที่จะมอบความรู้ความสามารถเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรอยู่ ซึ่งในมุมขององค์กรเองก็ต้องมีการมอบสวัสดิการที่สมเหตุสมผลด้วย เช่น ค่า OT ค่าเดินทางไปหาลูกค้า สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล วันหยุด วันลาพักร้อนที่ไม่ต่ำกว่าภาครัฐกำหนด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือ 1 ในปัจจัยที่พนักงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไม่แพ้กับค่าตอบแทน ถ้าหากองค์กรเอาเปรียบ เช่น ไม่ให้พักร้อนตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ให้ค่าเดินทางเมื่อต้องไปขายงานลูกค้าก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอต่อการลาออกของพวกเขา


6. ต้องการค่าตอบแทนที่มากขึ้น

ค่าตอบแทนหรือค่าจ้าง เป็นปัจจัยสำคัญที่พนักงานเหล่านี้จะยอมอุทิศความสามารถเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรของคุณ ดังนั้น ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่าไม่หวังผลตอบแทนจากบริษัทอย่างแน่นอน เพราะ “เงิน” คือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพ หากองค์กรสามารถตอบแทนพนักงานด้วยการปรับเงินเดือนและพิจารณาโบนัสตามผลงาน หรือผลประกอบการอย่างสมน้ำสมเนื้อ ก็เป็นเหตุผลที่ดีที่พวกเขาจะอยู่เพื่อช่วยพัฒนาองค์กรต่อไป แต่ถ้ากลับกันองค์กรไม่มีการปรับเงินเดือน ปรับแบบไม่สมเหตุสมผล หรือไม่มีแม้กระทั่งโบนัสเลย ก็คงไม่มีใครที่จะยอมอยู่ต่ออย่างแน่นอน


7. ปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่มีใครคาดเดาได้

ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะความเจ็บปวดของพนักงานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ปกติแต่บางคนอาจโชคไม่ดีที่ต้องเผชิญกับโรคร้ายจนส่งผลกระทบต่อการทำงาน อย่างเช่น โรคเครียด โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ โรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง หรือบางรายอาจประสบอุบัติเหตุถึงขั้นใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้เป็นสาเหตุการลาออกของพนักงานที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งนายจ้างและลูกจ้าง


8. อิ่มตัวกับงานที่ทำอยู่

สุดท้ายกับการ “อิ่มตัว” เป็นสาเหตุการลาออกของพนักงานที่มองหาวิธีแก้ไขแทบไม่ได้เลย เพราะเป็นภาวะที่เกิดจากความเบื่อหน่ายในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่เป็นประจำ เช่น งานที่เป็น Routine เดิม ๆ หรือทิศทางของงานที่อาจมาถึงทางตันสำหรับพวกเขาจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ซ้ำซากจำเจ ซึ่งคนทำงานจำนวนมากเลือกที่จะลาออกจากองค์กรเพื่อไปแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ หรือบางคนอาจไปเริ่มต้นสายงานใหม่ที่ฉีกจากกรอบเดิม ๆ ออกไปเลย


การลาออกนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไปขององค์กรทุกประเภทอยู่แล้วแต่ถ้าหากทีมผู้บริหารและทีมบริหารบุคคต้องการมัดใจให้พนักงานอยากเติบโตไปกับองค์กรเรื่อง Humansoftอยากแนะนำให้คุณได้ลองสังเกตวัฒนธรรมภายในองค์กรที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนทำงานทั้งหน้างานและพนักงานทั่วไป เพื่อนำไปสู่การวาง Solution ใหม่ ๆ เช่นการใช้โปรแกรมบริหารบุคคลเข้ามาเป็นสื่อกลางเพื่อลดระยะห่างระหว่างองค์กรกับลูกจ้างให้ผู้ที่มีความสามารถเหล่านี้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีความสุข



โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้