ไขข้อสงสัย? หากองค์กรจะลดตำแหน่งงานลูกจ้าง โดยไม่แจ้งล่วงหน้า สามารถทำได้ไหม? ผิดกฎหมายหรือเปล่า? สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- จ่ายค่าตำแหน่งพนักงานพร้อมเงินเดือน ด้วยบริการ Payroll
- Q&A ลูกจ้างลาออกกะทันหัน นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ไหม
- Q&A ลูกจ้างขาดงานกี่วัน นายจ้างจึงจะสามารถไล่ออกได้?
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
Q: ลดตำแหน่งโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ทำได้ไหม? ผิดกฎหมายหรือเปล่า?
ในการบริหารจัดการองค์กร อาจมีช่วงเวลาที่องค์กรต้องปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของพนักงาน เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายทางธุรกิจ หนึ่งในวิธีที่หลายองค์กรเลือกใช้คือ “การลดตำแหน่งพนักงาน” ซึ่งมักก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า การกระทำดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับกฎหมายแรงงานหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้พนักงานทราบ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่า องค์กรสามารถลดตำแหน่งลูกจ้าง โดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้ไหม? และผิดกฎหมายหรือเปล่า?
A: ทำไม่ได้ และถือว่าผิดกฎหมาย
นายจ้างไม่สามารถลดตำแหน่งงานของลูกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างได้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็น “การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง” ซึ่งตามกฎหมายแรงงานระบุไว้อย่างชัดเจนว่า หากการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของลูกจ้าง จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเท่านั้น หากนายจ้างยังคงดำเนินการโดยพลการ ถือว่าผิดกฎหมายและอาจถูกดำเนินคดีตามสิทธิของลูกจ้างได้
สรุป Q&A ลดตำแหน่งไม่แจ้งล่วงหน้า ทำได้ไหม? ผิดกฎหมายหรือเปล่า?
โดยสรุปแล้ว นายจ้างไม่สามารถลดตำแหน่งงานของลูกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือดำเนินการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพการจ้างและความเป็นอยู่ของลูกจ้างโดยตรง ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานและสิทธิของลูกจ้างตามที่กฎหมายคุ้มครองไว้