PageView Facebook
date_range 08/01/2024 visibility 51052 views
bookmark HR Knowledge
รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย - blog image preview
Blog >รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย

การจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด บทความนี้เราได้รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายมาฝาก จะเป็นอย่างไรไปดูเลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


การจ้างแรงงานต่างด้าว


ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเมียนมา ประเทศกัมพูชา และประเทศลาว เป็นต้น แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากความต้องการแรงงานในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ แรงงานต่างด้าวยังมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าแรงงานไทย จึงทำให้มีนายจ้างจำนวนมากนิยมจ้างแรงงานต่างด้าว


สิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว


ในการจ้างแรงงานต่างด้าว HR นายจ้าง หรือผู้ประกอบการควรศึกษาสิ่งที่ควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยสิ่งที่ HR นายจ้าง หรือผู้ประกอบการควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวมีดังนี้

 


1. การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องมีใบอนุญาต

แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน โดยกระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตแบบเฉพาะเจาะจง ว่าแรงงานต่างด้าวท่านนั้น ทำงานอะไร ทำที่ไหน กับนายจ้างคนใด ซึ่งจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการเปลี่ยนแปลงจะต้องแจ้งตามระเบียบ การให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่

 

2. แรงงานต่างด้าวจะต้องผ่านการอบรมก่อนทำงาน

แรงงานต่างด้าวทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในไทยจะต้องเข้ารับการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง โดยแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการอบรมจะได้รับใบอนุญาตแรงงาน

 

3. แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องรายงานตัวต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน โดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท

 

4. เข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องทำการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มีรายการตรวจโรคดังต่อไปนี้

โรคเรื้อน (Leprosy)

วัณโรคระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)

โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)

โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)

โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)

โรคซิฟิลิสใน (syphilis)

 

5. แรงงานต่างด้าวได้รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับคนไทย

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยมีสิทธิได้รับค่าแรงเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในโทย แต่ราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด

 

6. จ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาต จะได้รับโทษตามกฎหมาย

กรณีที่นายจ้างหรือ HR รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานหรือให้คนงานต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (ม.102) หากกระทำผิดซ้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 ถึง 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

 

7. จะต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นระบบ MOU เท่านั้น

การจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น จะต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นระบบของ MOU เท่านั้น โดยขั้นตอนเบื้องต้นในการทำงาน MOU คือนายจ้างต้องยื่น Demand Letter ซึ่งเป็นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวไปยังตัวแทนของประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา จากนั้นนายจ้างหรือ HR สามารถดำเนินการตามขั้นตอนอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นยื่นแบบ ตท.2 เอกสารประกอบที่ สจจ./สจท. ชำระค่าใบอนุญาต นำหนังสือที่ได้จากสจจ./สจก. ไปยื่นกรมแรงงาน ตรวจรับแรงงาน แจ้งที่พักอาศัย แจ้งการเข้าทำงาน ตรวจสุขภาพ รวมถึงเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อม

 

8. แรงงานต่างด้าวอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือหากกรณีที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ต้องไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตราย งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

 

9. จะต้องนำส่งประกันสังคม

สำนักงานประกันสังคมได้ประกาศว่าแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยจะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว คุ้มครอง 7 กรณี แต่ต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย


งานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ



งานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำมีดังต่อไปนี้

  1. งานกรรมกร
  2. งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม
  3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
  4. งานแกะสลักไม้
  5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
  6. งานขายของหน้าร้าน
  7. งานขายทอดตลาด
  8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว
  9. งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
  10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
  11. งานทอผ้าด้วยมือ
  12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
  13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ
  14. งานทำเครื่องเขิน
  15. งานทำเครื่องดนตรีไทย
  16. งานทำเครื่องถม
  17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
  18. งานทำเครื่องลงหิน
  19. งานทำตุ๊กตาไทย
  20. งานทำที่นอนผ้าห่มนวม
  21. งานทำบาตร
  22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
  23. งานทำพระพุทธรูป
  24. งานทำมีด
  25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
  26. งานทำรองเท้า
  27. งานทำหมวก
  28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
  30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
  31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
  33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
  34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
  35. งานเร่ขายสินค้า
  36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
  37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
  38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
  39. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี

  

*หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และงานบ้าน


สรุปสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย


เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย การจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด โดยนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ยื่นคำขอโควตาและใบอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว นำแรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรม พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ และยื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น ดังนั้น นายจ้างควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการกระทำผิดและจ้างงานอย่างถูกต้อง

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้