PageView Facebook
Published:  2025-07-18 47 views
HR Knowledge
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่างกันยังไง? - blog image preview
Blog >กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสับสนว่าระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่างกันยังไง? แม้จะดูคล้ายกันแต่รายละเอียดกลับต่างกัน มาไขข้อสงสัยไปพร้อมกันที่บทความนี้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


ทำความรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คืออะไร?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD)  คือ เครื่องมือทางการเงินที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกจ้างออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยมีลักษณะเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้ร่วมกับลูกจ้าง เงินในกองทุนมาจาก 2 ส่วนคือ “เงินสะสม” ที่หักจากค่าจ้างของลูกจ้าง และ “เงินสมทบ” ที่นายจ้างจ่ายเพิ่มเติมให้ต่างหากจากเงินเดือน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างวินัยทางการเงินแล้ว ยังเป็นหลักประกันรายได้ในระยะยาวอีกด้วย

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (Employee Welfare Fund – EWF) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือเสียชีวิต รวมไปถึงในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยหรือสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกองทุนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และบริหารโดยคณะกรรมการที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการจ่ายเงินให้ลูกจ้างอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ VS กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ต่างกันยังไง?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง แม้จะดูคล้ายกันแต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ ซึ่งความแตกต่างมีดังนี้




 

วัตถุประสงค์ของกองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีเงินออมสะสมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ ถือเป็นการสร้างหลักประกันทางการเงินในระยะยาว เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงเมื่อพ้นวัยทำงาน

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง: มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือเสียชีวิต ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย โดยมุ่งให้ลูกจ้างมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในช่วงระหว่างรอหางานใหม่ จึงถือเป็นกองทุนระยะสั้นที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าในยามฉุกเฉิน

 

เงื่อนไขของกองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปสามารถจัดให้ลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้โดยระบบสมัครใจ หากนายจ้างไม่ดำเนินการหรือนำส่งเงินเข้ากองทุนไม่ถือว่ามีความผิด ทั้งนี้กองทุนบริหารโดยคณะกรรมการกองทุน และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง: สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างเข้าร่วมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยบังคับ เว้นแต่ลูกจ้างคนนั้นเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว หากนายจ้างไม่ดำเนินการหรือนำส่งเงินเข้ากองทุนจะถือว่ามีความผิด กองทุนอยู่ภายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

 

สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมและกำไรจากส่วนเงินสะสมคืนเสมอ เมื่อออกงานหรือลาออกจากกองทุน รวมไปถึงเงินสมทบและกำไรจากเงินสมทบที่มาจากนายจ้าง ซึ่งนายจ้างอาจกำหนดเงื่อนไขการรับเงินได้ เช่น อายุงาน ต้องไม่ออกจากงานเพราะผิดวินัย เป็นต้น

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง: ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ รวมไปถึงกำไรจากเงินทั้งสอง 2 ส่วนคืน เมื่อออกจากงาน ทุกกรณีไม่ว่าจะเกษียณ ลาออก เลิกจ้าง สิ้นสุดสัญญาจ้าง และไม่ว่าจะด้วยกระทำความผิดวินัยหรือไม่ก็ตาม

 

แหล่งเก็บเงินของกองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: กองทุนจดทะเบียนซึ่งบริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีใบอนุญาต

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง: ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน

 

อัตราสะสมต่อเดือน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: อัตราสะสมอยู่ที่ 2-15% ของค่าจ้างที่จ่ายประจำ และนายจ้างจะสมทบเพิ่มเติมโดยไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง

 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง: อัตราสะสมอยู่ที่  0.25% ของค่าจ้างประจำ และนายจ้างสมทบเพิ่มเติม โดยจะปรับเพิ่มเป็น 0.5% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2573 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงแรงงานสมทบเพิ่มเติมตามสัดส่วนที่กำหนด

 

อย่างไรก็ตาม กองทุนทั้งสองประเภทต่างมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้หลังออกจากงานหรือหลังเกษียณ เป็นเสมือนภูมิคุ้มกันทางการเงินในยามเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น การว่างงานหรือถูกเลิกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างสามารถวางแผนชีวิตได้อย่างมั่นใจและยั่งยืน


สรุป กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่างกันยังไง?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นเครื่องมือทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้หลังออกจากงานหรือเกษียณอายุ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว แม้ทั้งสองกองทุนจะมีลักษณะคล้ายกันในแง่การช่วยเหลือและสนับสนุนลูกจ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ทั้งในด้านวัตถุประสงค์ เงื่อนไขการเข้าร่วม รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน ครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้