การนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ
การนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิเพื่อให้แสดงยอดเงินสะสม ( ในสลิปเงินเดือน ) ที่พนักงานเคยได้รับไปแล้วภายในเดือนนั้นๆได้ถูกต้อง สามารถคำนวณภาษีของพนักงานได้ถูกต้อง หรือใกล้เคียงภาษีที่ต้องจ่ายมากที่สุด สามารถดึงรายงานภาษีประจำปี : ภ.ง.ด.1ก / 50ทวิ หรือ กท.20 จากในระบบ Humansoft ไปใช้ได้
วิธีนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ
การนำเข้าเงินเดือนสุทธิ ลูกค้าจะต้องทำการปิดรอบเดือนเพื่อนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ โดย HR สามารถดำเนินการได้ตามวิธีการดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลทการนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิเพื่อกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทำการนำเข้าไฟล์ข้อมูลเงินเดือน
วิธีการดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลทนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ
ก่อนที่จะทำการนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ ลูกค้าจะต้องทำการดาวน์โหลดเทมเพลทนำเข้าข้อมูลเงินเดือน เพื่อกรอกข้อมูลเงินเดือนและรายรับรายจ่ายต่าง ๆ โดยสามารถดำเนินการได้ตามวิธีการดังนี้
1. เลือกเดือนที่ต้องการนำเข้าข้อมูลเงินเดือน หากรอบเดือนดังกล่าวยังไม่มีการสร้างขึ้นมาให้กดเซ็ตค่าตั้งต้น เพื่อสร้างรอบเดือนที่ต้องการนำเข้า
2. เข้าไปที่เมนูปิดงวดบัญชี ระบุวันที่จ่ายเงินเดือน, วันที่จ่ายภาษี และกดปิดงวดบัญชี
3. ดาวน์โหลดเทมเพลท ที่หัวข้อ นำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ จะได้รับไฟล์ Excel ที่ใช้นำเข้าข้อมูลเงินเดือนย้อนหลัง
4. กรอกข้อมูลเงินเดือน และรายรับ-รายจ่ายที่พนักงานได้รับ รวมถึงภาษีและประกันสังคมที่ถูกหักลงในไฟล์ Excel
ข้อควรรู้ และควรระวัง ในการกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel ที่ใช้นำเข้าเงินเดือนสุทธิ
ในการกรอกข้อมูลในไฟล์เทมเพลทนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ (ไฟล์ Excel) มีข้อควรรู้และข้อควรระวังในการกรอกข้อมูลการนำเข้าเงินเดือนสุทธิ ดังนี้
1. ในการนำเข้าข้อมูลระบบจะอ้างอิงข้อมูลในการนำเข้าว่าข้อมูลนี้เป็นของใครจาก “รหัสพนักงาน”
2. กรณีหากพนักงานที่จะนำเข้าไม่มีข้อมูลใน Template ให้ทำการแทรกแถวแล้วกรอก รหัส และ กรอกข้อมูลที่จะนำเข้าได้เลย
3. ห้ามแก้ไข/ลบ แถวหรือคอลัม ในไฟล์เทมเพลทที่ดาวน์โหลดออกไป ให้ใส่แค่จำนวนเงิน
4. ในการนำเข้าหากพนักงานท่านใดที่ต้องการให้ใช้ข้อมูลเดิมจากการคำนวณในระบบ หรือ ไม่ต้องการให้มีข้อมูลในการ นำเข้า แนะนำให้ลบรายชื่อพนักงานออก โดยคลิกซ้ายที่แถวที่ต้องการ หลังจากนั้นกดลบ
5. แนะนำให้กรอกข้อมูลที่มีรายรับ-รายจ่ายทุกช่อง กรณีหากในระบบมียอดเงินก่อนหน้า แต่ในไฟล์นำเข้าปล่อยเป็น ค่าว่าง ระบบจะทำการล้างข้อมูลช่องที่เป็นค่าว่างให้ เช่นโอทีล่วงเวลา ในระบบคำนวณได้ 500 บาท แต่ในไฟล์นำเข้าปล่อยเป็นค่าว่างหลังจากนำเข้า ระบบจะแสดงยอดโอทีล่วงเวลา 0 บาท
6. ในการกรอกข้อมูล “ประกันสังคม , ภาษี” จะแตกต่างจากข้อมูลอื่นเล็กน้อยตรงที่ หากเป็นการปล่อยเป็นค่าว่าง ระบบจะทำการคำนวณข้อมูลให้เองอัตโนมัติ
6.1 การกรอกประกันสังคม: ในการกรอกประกันสังคมมีข้อควรระวังดังนี้
- หากปล่อยเป็นค่าว่าง ระบบจะคำนวณยอดให้เอง
- หากกรอกยอด 0 ระบบก็จะคำนวณให้เอง
- หากกรอกยอดเองตั้งแต่ 1 – 750 จะแสดงยอดที่กรอก
6.2 ภาษี: การกรอกภาษีมีข้อควรระวังดังนี้
- หากปล่อยเป็นค่าว่าง ระบบจะคำนวณยอดให้เอง
- หากกรอกยอด 0-9999 ระบบจะแสดงตามยอดที่กรอก
7. ในช่องรวมยอดสามารถใช้สูตร SUM ในช่อง รวมรายรับ – รวมรายจ่าย เพื่อสรุปยอดได้เลย
8. เบิกล่วงหน้าให้กรอกข้อมูลเงินเบิกล่วงหน้า หากไม่มีใส่ 0 หรือไม่ต้องใส่ก็ได้
9. คงเหลือเป็นการนำ รวมยอด – เบิกล่วงหน้า = ยอดคงเหลือ กรณีไม่มียอดเบิกล่วงหน้า ให้นำรวมยอดมาใส่ในช่องคงเหลือได้เลย