PageView Facebook

จัดการหนี้สินพนักงาน และเงินประกันการทำงาน

เมนูจัดการหนี้สินพนักงาน และเงินประกันการทำงาน ใช้สำหรับกรณีที่ ต้องการให้ระบบหักเงินพนักงานอัตโนมัติ หรือเป็นการเก็บประวัติการหักเงินพนักงานที่เคยมีการจ่ายเงินครบแล้ว

สามารถดำเนินการเพิ่มข้อมูล หรือนำเข้าข้อมูลได้ทั้ง 2 รูปแบบ


การเพิ่มข้อมูล

การเพิ่มข้อมูลจัดการหนี้สินพนักงาน และเงินประกันการทำงาน ให้มาที่เมนูการประมวลผลเงินเดือน เลือกจัดการหนี้สินพนักงาน หลังจากนั้นให้กดเพิ่มข้อมูล


หลังจากกดเพิ่มข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเพิ่มข้อมูลผู้กู้, วันที่ยื่นกู้, เดือนที่เริ่มหัก, ประเภทเงินกู้, จำนวนเงินกู้, จำนวนงวด และวิธีคิดดอกเบี้ยเงินกู้ รายละเอียดให้ครบถ้วน จากนั้นกดบันทึก

1.เลือกรายชื่อพนักงาน ที่ต้องการเพิ่มภาระหนี้สิน

2.ระบุวันที่ ที่พนักงานยื่นกู้

3.ระบุเดือน ที่ต้องการเริ่มหักเงินกับพนักงาน

4.เลือกประเภทเงินกู้ ตามความเหมาะสม เช่น ชำระค่าเสียหาย หรือเป็นเงินประกันการทำงาน เป็นต้น

5.ระบุจำนวนเงิน ที่พนักงานมีการขอกู้

6.ระบุเงินดาวน์ หากพนักงานมีการชำระเงินไปแล้วก่อนหน้านี้ สามารถนำจำนวนเงินดังกล่าวมากรอกในเงินดาวน์ได้เลย เพื่อหักลบกับยอดเงินกู้

7.ยอดเงินกู้ ระบบจะหักลบจากเงินกู้ และเงินดาวน์

8.ระบุจำนวนงวด ที่ต้องการหักพนักงาน

9.กำหนดงวด ที่ต้องการให้พนักงานส่ง หากไม่กำหนดระบบจะคำนวณให้อัตโนมัติ

10.เลือกประเภทดอกเบี้ย ตามความต้องการ

11.ระบุอัตราดอกเบี้ย / มูลค่าดอกเบี้ย ยกตัวอย่าง เช่น กำหนดมูลค่าดอกเบี้ย พนักงาน กู้ 10,000 ชำระ 12 งวด ดอกเบี้ย 1,000 บาท ชำระ  12 งวด ระบบจะนำดอกเบี้ย 1,000 หาร 12 = ดอกเบี้ย 83.33 บาท ต่องวด

ค่างวด 833.33 + 83.33 = 916.66 บาท ต่องวดที่พนักงานจะต้องชำระ เป็นต้น หากไม่มีสามารถกรอกเป็น 0 ได้

12.สามารถเลือกการปัดเศษ หรือไม่ปัดเศษดอกเบี้ยได้

13.กรอกรายละเอียดของข้อมูลเงินที่พนักงานกู้ไปเพื่อเป็นหมายเหตุ

14.หลังจากกดบันทึกระบบจะสร้างตารางข้อมูลและงวดที่พนักงานต้องชำระให้อัตโนมัติ


การนำเข้าข้อมูล

สำหรับการนำเข้าข้อมูลจัดการหนี้สินพนักงาน และเงินประกันการทำงาน สามารถดูคู่มือเพิ่มเติมได้ที่นี่


วิธีคิดดอกเบี้ยในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบ HumanSoft มีทั้งหมด 3 รูปแบบ

1. วิธีคิดแบบ ดอกเบี้ยคงที่

เช่น เงินกู้ 10,000 บาท ชำระ 12 งวด ดอกเบี้ย 6% ชำระ 12 งวด

วิธีคิด ค่างวดและดอกเบี้ย

เงินต้น 10,000 หาร 12 = 833.33 บาท ต่องวด

ดอกเบี้ย 10,000 × 6 % = ดอกเบี้ย 600 บาท ต่องวด

ค่างวด 833.33 + 600 = 1,433.33 บาท ต่องวด


2. วิธีคิดแบบ กำหนดมูลค่า

เช่น เงินกู้ 10,000 บาท ชำระ 12 งวด ดอกเบี้ย 1,000 บาท ชำระ  12 งวด

วิธีคิด ค่างวด และดอกเบี้ย

เงินต้น 10,000 หาร 12 = 833.33 บาท ต่องวด

ดอกเบี้ย 1,000 หาร 12 = ดอกเบี้ย 83.33 บาท ต่องวด

ค่างวด 833.33 + 83.33 = 916.66 บาท ต่องวด


3. วิธีคิดแบบ ต้นลดดอกลด

เช่น เงินกู้ 10,000 บาท ชำระ 12 งวด ดอกเบี้ย 6% (ต้นลดดอกลด)

วิธีคิด ค่างวดและดอกเบี้ย

เงินต้น 10,000 หาร 12 = 833.33 บาท ต่องวด

ดอกเบี้ย เงินต้นคงเหลือ × 6% (ในงวดแรก × 6% ได้เลย )

งวดต่อไป ต้องลบเงินต้นที่จ่ายไปแล้วก่อนนำไป × 6%

งวดที่ 1 :  833.33 + (10,000 × 6% )

= 833.33 + 600 = 1,433.33 บาท

งวดที่  2 :  833.33 + (10,000 - 833.33 = 9,166.67) × 6%

= 833.33 + 550 = 1,383.33 บาท

งวดที่  3 :  833.33 + (9,166.67 - 833.33 = 8,333.34) × 6%

= 833.33 + 500 = 1,333.33 บาท


ตัวอย่างการแสดงผลเมื่อเพิ่ม หรือนำเข้าข้อมูลจัดการหนี้สินพนักงาน สามารถดูรายละเอียด หรือแก้ไขข้อมูลเงินที่ต้องชำระแต่ละงวด และดอกเบี้ยได้ได้ที่ปุ่ม

หมายเหตุ : เงินที่ต้องชำระแต่ละงวด เมื่อแก้ไขแล้วจำนวนเงินรวมกันแล้ว ต้องไม่น้อยกว่าหรือมากกว่าวงเงินที่กู้ และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลงวดที่ชำระไปแล้วได้


เดือนที่เป็นแถบ สีเทา คือเดือนที่ปิดงวดบัญชีแล้ว (ไม่สามารถแก้ไขได้) ต้องปลดล็อคงวดบัญชีเพื่อแก้ไขก่อน


การเพิ่ม และการนำเข้าข้อมูลเพื่อเก็บประวัติไว้ในกรณีที่พนักงานจ่ายครบแล้ว

วิธีการเพิ่มข้อมูล หรือตรวจสอบเงินประกันการทำงานของพนักงานรายบุคคล สามารถมาตรวจสอบได้ที่ เมนูข้อมูลพนักงาน ให้กดค้นหาจากตัวกรอง และเลือกรายชื่อพนักงาน


หากต้องการเพิ่มประวัติการชำระเงินประกันการทำงานของพนักงาน สามารถกดปุ่มเพิ่ม หลังจากนั้นเลือกเดือนที่ต้องการเก็บประวัติ และกรอกยอดเงินที่ต้องการ หลังจากนั้นกดบันทึก


และเมื่อพนักงานลาออก ระบบจะทำการสรุปข้อมูลหนี้สิน และเงินประกันการทำงานให้ดังนี้


สรุปได้ว่า การเพิ่มจัดการหนี้สินพนักงาน หรือเงินประกันการทำงาน สามารถเพิ่มข้อมูลให้พนักงานเพื่อเก็บเป็นประวัติ หรือทำการนำเข้าข้อมูลเพื่อให้ระบบหักเงินพนักงานอัตโนมัติ และสามารถตรวจสอบ, แก้ไขเงินที่ต้องชำระแต่ละงวด และดอกเบี้ยได้

โดยเงินที่ต้องชำระแต่ละงวด เมื่อแก้ไขแล้วจำนวนเงินรวมกันแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า หรือมากกว่าวงเงินที่กู้ และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลงวดที่ชำระไปแล้วได้ กรณีที่มีการหักเงินพนักงานครบเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ดำเนินการปิดบัญชีเงินกู้