PageView Facebook

การนำเข้าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การนำเข้าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถกำหนดเลขที่กองทุน, วันที่สัญญากองทุน, วิธีการหักเงิน, เรทกองทุน, วิธีการสมทบ, บริษัทสมทบ และผู้ได้รับผลประโยชน์ จากการนำเข้าข้อมูลได้

โดยในการนำเข้ากองทุนสามารถนำเข้าได้จาก 3 ช่องทางดังนี้

  1.นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”

  2.นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง”

  3. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากหน้า “ปิดงวดบัญชี”


การนำเข้าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1.นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”

การดาวน์โหลดไฟลนำเข้ากองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน” ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือกเมนูย่อย “กองทุน” กด “ดาวน์โหลด” เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx (Excel)


กรอกข้อมูลกองทุนในไฟล์ Excel.

1.เลขที่กองทุน คือเลขที่สัญญากองทุนของพนักงาน

2.วันที่เริ่มสัญญากองทุน (ค.ศ.) มีการเริ่มทำสัญญากองทุนตัวนี้ตั้งแต่ช่วงปี-เดือนใด แนะนำให้เป็นการกรอกปี ค.ศ. เช่น 2023-09-21


3.วิธีการหักเงิน เลือกวิธีการหักกองทุนของฝั่งพนักงาน ว่าจะหักเป็น %, หักเป็นบาท หรือตามสูตร

4.เรทกองทุน เลือกเรทกองทุนที่ต้องการหักพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน % หรือเป็นบาท ให้ระบุจำนวนบาท

5.วิธีการสมทบ เลือกวิธีที่บริษัทจะสมทบให้พนักงาน ว่าสมทบเป็น % , สมทบเป็นบาท หรือตามสูตร

6.บริษัทสมทบ เลือกเรทกองทุนที่บริษัทต้องการสมทบให้กับพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน % หรือเป็นบาทให้ระบุจำนวนบาท

7. ยอดสะสม เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งพนักงานที่ต้องการนำเข้า

8.ยอดสะสมบริษัทสมทบ เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งบริษัทที่ต้องการนำเข้า

9.ผู้ได้รับผลประโยชน์ รายชื่อบุคคลผู้รับผลประโยชน์ เป็นเอกสารที่ให้สมาชิกระบุชื่อบุคคลที่ต้องการยกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เมื่อตนเสียชีวิตไปแล้ว


เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว สามารถมานำเข้าข้อมูล โดยไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือก “กองทุน” เลือก “รอบเดือน” ที่ต้องการนำเข้าข้อมูล หลังจากนั้นกด “เลือกไฟล์”  แล้วทำการกด “อัพโหลดไฟล์”


2.นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง”

ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือกเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง” กด “ดาวน์โหลด” เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx (Excel)


กรอกข้อมูลกองทุนสะสมย้อนหลังในไฟล์ Excel.

1. ปีที่สะสม (ค.ศ.) เป็นการกรอกปี ค.ศ. ที่ต้องการนำเข้ายอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะสะสม

2.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งพนักงานที่ต้องการสะสม

3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทสมทบ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งบริษัทที่ต้องการสะสม


เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว สามารถมานำเข้าข้อมูล โดยไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือก “เงินสะสมย้อนหลัง” กด “เลือกไฟล์” หลังจากนั้นกด “อัพโหลดไฟล์”


ในการนำเข้าเงินสะสมย้อนหลัง สามารถดูคู่มือเพิ่มเติมได้ ที่นี่


3. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากหน้า “ปิดงวดบัญชี”

ไปที่เมนู “คำนวณเงินเดือน” เลือก “รอบเดือน” ที่ต้องการดาวน์โหลดไฟล์-นำเข้า หลังจากนั้นเลือกเมนู “ปิดงวดบัญชี”

หมายเหตุ : กรณีรอบเดือนดังกล่าวยังไม่ได้ “ปิดงวดบัญชี” ให้ทำการกดปิดงวดบัญชีก่อน

กด “ดาวน์โหลด” ในข้อที่ 1 ของนำเข้ากองทุน เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx (Excel)


เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว สามารถมานำเข้าข้อมูล โดย “เลือกไฟล์”  แล้วทำการกด “อัพโหลดไฟล์”



การตรวจสอบข้อมูลกองทุน

ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือกที่เมนูย่อย “กองทุน” เลือก “ชื่อกองทุน” และเลือก“ปี” ที่ต้องการตรวจสอบ หลังจากนั้นกด “ค้นหา”


จะแสดงข้อมูลกองทุนของพนักงานดังภาพ


  สรุปได้ว่า การนำเข้าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้สำหรับการนำเข้ายอดเงินสะสมกองทุนของพนักงาน และบริษัทสมทบเข้ามาได้ หรือเป็นการสร้างชุดข้อมูลกองทุนจากการนำเข้าขึ้น เพื่อให้ระบบประมวลผลต่อ 

  โดยในการนำเข้ากองทุนสามารถนำเข้าได้จาก 3 ช่องทางดังนี้

  1. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”

  2. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง”

  3. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากหน้า “ปิดงวดบัญชี” ในแต่ละรอบการคำนวณเงินเดือน